logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ส่งข้อความผ่านมือถือ เตือนให้เลิกบุหรี่…เป็นวิธีที่ได้ผลหรือไม่ นักวิจัยเตรียมหาคำตอบ

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยลีดส์ สหราชอาณาจักร จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ รับฟังข้อคิดเห็น และร่วมพิจารณาเนื้อหาข้อความที่จะนำไปใช้ส่งผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อสนับสนุนการลดการบริโภคยาสูบ ขั้นตอนการรับฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นขั้นตอนเบื้องต้นของโครงการวิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิผลของการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ ต่อการรับบริการเลิกบุหรี่และการตัดสินใจเลิกบุหรี่ ข้อเสนอแนะและผลสรุปที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ นักวิจัยจะนำไปใช้เพื่อปรับปรุงงานวิจัยต่อไป

โครงการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับปริญญาเอกของ ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง เพื่อทดสอบว่าการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือมีผลต่อการรับบริการเลิกบุหรี่จาก 1600 Quitline (ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ) และการตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่หรือไม่ ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวมีคณะที่ปรึกษาโดย Dr. Liz Glidewell และ Dr. Rebecca Walwyn จากมหาวิทยาลัยลีดส์ และ Professor Jeremy C. Wyatt มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน สหราชอาณาจักร อีกทั้งได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ งบประมาณการวิจัยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ประสานงานเครือข่ายการประเมินงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คาดว่างานวิจัยชิ้นนี้จะเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2561  สามารถติดตามความคืบหน้าโครงการทดสอบประสิทธิผลของการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือต่อการรับบริการเลิกบุหรี่และการตัดสินใจเลิกบุหรี่ได้ที่ https://www.hitap.net/research/167423

สำหรับผู้สูบบุหรี่ที่สนใจอยากเลิกบุหรี่ และต้องการสมัครรับข้อความผ่านทางมือถือ สามารถติดต่อนักวิจัยได้ที่อีเมล์ [email protected] หรือ ส่ง SMS มาที่ 0891643777 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

 

10 พฤศจิกายน 2559

Next post > เซาท์อีสต์เอเชียยกไทยต้นแบบล้างไตทางช่องท้อง

< Previous post HITAP ร่วมกับ IHPP นำเสนอกระบวนการพิจารณาและคัดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีสุขภาพ ภายใต้โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ระบบหลักประกับสุขภาพถ้วนหน้า

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด