“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เชิญ HITAP และ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ไปนำเสนอและร่วมหารือถึงกระบวนการเสนอและพิจารณาหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีสุขภาพ (Topic Prioritization and Selection) ภายใต้โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบหลักประกับสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ
นายสุรเดช ดวงทิพย์ศิริกุล นักวิจัย HITAP ได้นำเสนอกระบวนการจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพ และเทคโนโลยีสุขภาพที่เคยดำเนินการมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มีขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 7 กลุ่ม ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ตัวแทนนักวิชาการ ตัวภาคประชาสังคม ตัวแทนผู้ป่วย ตัวแทนภาคอุตสาหกรรม และผู้แทนประชาชนทั่วไป มีสิทธิเสนอหัวข้อฯ โดยเปิดโอกาสให้เสนอหัวข้อฯ ปีละ 2 ครั้ง จากนั้น คณะทำงานคัดเลือกหัวข้อฯ 4 กลุ่ม ไม่รวมผู้กำหนดนโยบาย ตัวแทนภาคอุตสาหกรรม และประชาชนทั่วไป จะหารือบนพื้นฐาน ของข้อมูลและหลักฐานเชิงวิชาการเพื่อคัดเลือกหัวข้อ ตามขั้นตอน ทั้งนี้เกณฑ์ที่นำมาใช้ประเมินการจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกหัวข้อได้แก่ จำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากโรคหรือปัญหาสุขภาพ ความรุนแรงของโรค ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ความแตกต่างในทางปฏิบัติ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของครัวเรือน และความเป็นธรรม ประเด็นทางสังคม จริยธรรม