logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: กรุงเทพธุรกิจ

ฉบับวันที่: 4 ตุลาคม 2016

PD First Policy สิทธิรักษา เพื่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

จากการทำงานชมรมเพื่อนโรคไต แห่งประเทศไทย เพื่อปกป้องสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วยโรคไตอย่างต่อเนื่อง การกำหนด “สิทธิประโยชน์การรักษาผู้ป่วย ไตวายเรื้อรัง” ภายใต้ “ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ซึ่งได้เริ่มในปี 2551 นับเป็นก้าวสำคัญในการปฏิรูประบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไต ด้วย “นโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเป็นทางเลือกแรก” (PD First Policy) ส่งผลให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องได้รับการล้างไตสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง
แต่เกือบ 10 ปีที่ผ่านมา นโยบายนี้ดำเนินไปภายใต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ ในมุม การละเมิดสิทธิการรักษาของผู้ป่วยและการ ริดรอนสิทธิการรักษาของแพทย์ ในการเลือก วิธีการล้างไต เนื่องจากสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดให้ ผู้ป่วยที่ต้องรับการล้างไตต้องเริ่มด้วย วิธีการล้างไตผ่านช่องท้อง และมองว่า เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเสียชีวิตได้ โดยมีการนำข้อการเสียชีวิตมากล่าวอ้าง โน้มน้าว ให้เห็นคล้อยตาม

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในอดีตปัญหาใหญ่ ของการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังคือภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการล้างไต ซึ่งขณะนั้น ส่วนใหญ่เป็นการฟอกไตผ่านเครื่อง เฉลี่ยครั้งละ 2,000-3,000 บาท ต้องรับบริการประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษา แต่ด้วยนโยบายล้างไตผ่านช่องท้อง ส่งผลให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายสามารถเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึง ช่วยลด ปัญหาทางการเงินที่เป็นอุปสรรคสำคัญ และยังเป็นทางออกของปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ และศูนย์บริการล้างไต ที่มีอยู่อย่างจำกัด เพราะการล้างไตผ่านหน้าท้องถือผู้ป่วยสามารถทำเองได้ ในฐานะประธานชมรมเพื่อนโรคไต แห่งประเทศไทย ซึ่งคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคไตในทุกกลุ่ม รวมถึงผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รับการ ล้างไตผ่านช่องท้อง ต่างสะท้อนความเห็นที่ ภาพรวมต่างพึงพอใจต่อนโยบายนี้ เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย ขณะที่ในด้านของคุณภาพชีวิต ก็สามารถดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติได้ ทั้งการประกอบอาชีพดูแลครอบครัวและทำงานที่ไม่หนักมากนัก แม้ว่าในช่วงแรกผู้ป่วยจะมีความยุ่งยากกับการล้างไตผ่านหน้าท้องอยู่บ้างจากความไม่คุ้นเคย แต่หลังจากปฏิบัติต่อเนื่องจะรู้สึกง่ายขึ้นจนเป็นเหมือนส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน ส่วนในเรื่องของมาตรฐานการรักษาและความปลอดภัย เป็นประเด็นที่แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคไตหลายท่านได้ออกมา ให้ความเห็นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น รศ.นพ.ทวี ศิริวงศ์ อายุรแพทย์โรคไต หัวหน้าสาขาวิชาโรคไต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ พล.ท.นพ.ถนอม สุภาพร อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ต่างระบุ เช่นเดียวกันว่า การล้างไตผ่านช่องท้องเป็นวิธีการรักษาที่ได้มาตรฐานและทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ซึ่งประเทศต่างๆ ได้ให้การยอมรับ ขณะที่อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่รับการล้างไตผ่านช่องท้อง ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 10 ไม่ต่าง จากต่างประเทศ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆนับเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงอยู่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีเสียงยืนยันจาก นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ในฐานะหน่วยงานที่ทำการศึกษาและนำเสนอสิทธิประโยชน์นี้ ที่ระบุว่า เป็นนโยบายที่เดินมาถูกทาง เพราะอินโดนีเซียก็กำลังนำร่องเพื่อดำเนินนโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเป็นทางเลือกแรก หลังจากที่ให้แพทย์และผู้ป่วยเป็นผู้เลือกการรักษาพบว่า นอกจากใช้งบประมาณที่สูงมากแล้วแต่ยังถือว่าล้มเหลวเพราะไม่ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยในระบบทั้งหมด
อย่างไรก็ตามแม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่เป็นผู้ป่วยใหม่ซึ่งใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องรับการรักษาด้วยวิธีล้างไตผ่านช่องท้องก่อน แต่ไม่ได้ปิดกั้นการเข้าถึงการฟอกไตด้วยเครื่องในกรณีผู้ป่วยจำเป็นที่มีข้อจำกัดทางการแพทย์ไม่สามารถล้างไต ผ่านช่องท้องได้ โดยยังคงเปิดให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและส่งเรื่องพิจารณาทั้งนี้สาเหตุที่ สปสช.ต้องดำเนิน นโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเป็นทางเลือกแรก เนื่องด้วยข้อจำกัดของงบประมาณกองทุนฯ ที่ต้องดูแล 48 ล้านคน ให้ครอบคลุมการรักษา ผู้ป่วยทุกโรคอย่างทั่วถึง รวมทั้งจำนวนบุคลากรทางการแพทย์และศูนย์บริการล้างไตที่มีอยู่น้อย ซึ่งในอนาคตจำนวนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังยังมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นการพิจารณาโดยยึดผู้ป่วย เป็นสำคัญ เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”ผู้ป่วยต้องรับการรักษาด้วยวิธีล้างไตผ่านช่องท้องก่อนแต่ไม่ได้ปิดกั้นการเข้าถึงการฟอกไตด้วยเครื่องในกรณีผู้ป่วยจำเป็นที่มีข้อจำกัดทางการแพทย์ไม่สามารถล้างไตผ่านช่องท้องได้

4 ตุลาคม 2559

Next post > นักวิจัย HITAP เข้าร่วมการประชุม Priority Setting in Global Health ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

< Previous post มะเร็งลำไส้ใหญ่

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด