logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
วิจัย HITAP ชี้ใช้ 1.2หมื่นล.10ปีคุ้มทุนหวั่นไม่ผ่านสิทธิประโยชน์บัตรทอง “โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ”/”ประเมินเทคโนโลยี และ นโยบายด้านสุขภาพ”/HITAP)  
คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
 
 
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือไฮแทป ได้นำเสนองานวิจัยเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่/วัยทำงาน ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยหนึ่งในงานวิจัยที่นำเสนอ คือ นโยบายการขยายการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้ได้รับยาต้านไวรัสโดยไม่คำนึง ถึงค่าระดับภูมิต้านทาน (CD4) ว่า จะมีความ คุ้มค่า คุ้มทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นภาระต่องบประมาณหรือไม่
          นพ.สรกิจ ภาคีชีพ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1 เชียงใหม่ ในฐานะอดีตผู้จัดการกองทุนเพื่อบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์และผู้ป่วยวัณโรค สปสช. กล่าวว่า จากผลการวิจัยของไฮแทป พบว่าการประมาณการต้นทุนดังกล่าวต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก โดยต้นทุนจริงที่ต้องใช้คือ 12,000 ล้านบาท ในเวลา 10 ปี จึงมีความคุ้มทุน ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ถึง 4 เท่า โดยที่ผ่านมาคณะกรรมการเอดส์ชาติ มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2557-2559 ซึ่งมีมาตรการยุติปัญหาเอดส์ ด้วยการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี และให้การรักษาแต่เนิ่นๆ โดยไม่คำนึงถึงค่าระดับ CD4 โดยประมาณการต้นทุนว่าต้องใช้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท ในช่วงเวลา 10 ปี จึงมีความคุ้มทุน เพราะจะช่วยลดจำนวนผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเพิ่มผลิตภาพในการทำงานได้ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขนี้มาจากคณะทำงานวิชาการเป็นผู้ประเมิน
          นพ.สรกิจ กล่าวอีกว่า คงต้องมาลุ้นว่าคณะอนุกรรมการชุดสิทธิประโยชน์ สปสช.ที่ดูแลกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง จะเห็นชอบหรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่คุ้มทุนแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำ อย่างกรณีสิทธิประโยชน์ฟอกไต ผลวิจัยก็ออกมาว่าไม่มีความคุ้มทุน แต่ สปสช.ก็ดำเนินการ เพราะเห็นว่าคนที่เป็นไตวายแล้วการรักษาจะทำให้สิ้นเนื้อประดาตัวทั้งครอบครัว ซึ่งเป็นเหตุผลนอกเหนือจากความคุ้มทุน
          “กรณีการล้างไตฟอกไต ผู้ป่วยแทบ ไม่มีโอกาสทำงาน ผลวิจัยจึงไม่คุ้มค่า และคุ้มทุน แต่ผู้ป่วยเอดส์หากรับยาต้านไวรัสยังสามารถทำงานได้ สามารถเพิ่มผลิตภาพในการทำงาน ก็ต้องมาดูว่าคณะอนุกรรมการ จะชั่งน้ำหนักเรื่องใดสำคัญมากกว่ากัน” นพ. สรกิจ กล่าว
1 กรกฎาคม 2557

Next post > HITAP ออกบูธงานประชุมสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 6

< Previous post EQ5D5L เวอร์ชั่นไทย ที่ HITAP พัฒนา ได้รับการรับรองจากลุ่ม EuroQol ให้ใช้เป็นฉบับมาตรฐานของประเทศไทยสำหรับการใช้งานจริงแล้ว!

Related Posts