logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวว่า ขณะนี้ HITAPกำลังศึกษาหัวข้อการให้การรักษาผู้ป่วยเอดส์ของทุกระดับภูมิต้านทาน (CD4) ซึ่งแต่เดิมจะให้ยาต้านไวรัสที่ค่า CD4 คือ 350 แต่ข้อเสนอนี้คือจะให้ยาต้านไวรัสเพื่อทำการรักษาได้เลย ไม่ว่าจะมีค่า CD4 เท่าไรก็ตาม ซึ่งผลการศึกษาใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยวันที่ 20 มิถุนายนนี้ เวลา 13.00 น. ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี HITAP จะนำผลการศึกษามาแสดงต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนผู้ป่วย ผู้แทนนักวิชาการ เพื่อให้ร่วมแสดงความคิดเห็น ก่อนที่จะนำผลการศึกษานี้เสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อพิจารณา หากเห็นชอบก็จะเสนอต่อบอร์ด สปสช.เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นชุดสิทธิประโยชน์ต่อไป

ด้าน นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดของผลการศึกษา แต่ไม่ว่าผลการศึกษาจะออกมาอย่างไร ในความคิดของตนคือการให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ เข้าถึงการรักษาหรือรับยาต้านไวรัสยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี โดยที่ไม่ต้องรอให้ค่า CD4 ตก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า การรักษาเร็วจะช่วยลดผลกระทบระยะยาวได้ ยิ่งเพิ่งติดเชื้อภายใน 30 วัน ก็มีความหวังว่าอาจรักษาให้หายได้

“ข้อเท็จจริงคือการกินยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจะสามารถควบคุมไวรัสในร่างกายได้ เมื่อตรวจหาอาจพบน้อยกว่า 50 ตัว หรือหาไม่เจอเลย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ก็จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ที่น่าห่วงคือคนยังมารับยาต้านไวรัสช้าอยู่ เรื่องสำคัญคือต้องประชาสัมพันธ์ให้คนตื่นตัวในการไปตรวจเลือดและตรวจร่างกายปีละครั้ง แต่ปัญหาคือมีผู้ใช้สิทธิประโยชน์นี้ถึง 21% ที่ไม่ได้รับการตรวจ เรื่องนี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สปสช.ต้องร่วมกันค้นหาสาเหตุ และดำเนินการแก้ไขให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่เต็มชุดสิทธิประโยชน์

17 มิถุนายน 2557

Next post > EQ5D5L เวอร์ชั่นไทย ที่ HITAP พัฒนา ได้รับการรับรองจากลุ่ม EuroQol ให้ใช้เป็นฉบับมาตรฐานของประเทศไทยสำหรับการใช้งานจริงแล้ว!

< Previous post นักวิจัยจาก HITAP เดินทางไปปฏิบัติงาน ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามในฐานะที่ปรึกษากระบวนการจัดลำดับความสำคัญหัวข้อวิจัยด้านสุขภาพของประเทศเวียดนาม

Related Posts