logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ ในโครงการ “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจติดตาม PT-INR ด้วยระบบ Point of Care เพื่อปรับยาและเฝ้าระวังยาในผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (วอร์ฟาริน)”

     เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญในโครงการ “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจติดตาม PT-INR ด้วยระบบ Point of Care เพื่อปรับยาและเฝ้าระวังยาในผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (วอร์ฟาริน)”เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะต่อผลการวิจัยก่อนเผยแพร่สื่อสาธารณะโดยการประชุมครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 11 ท่าน จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะแพทย์ เภสัชศาสตร์ และโรงพยาบาลของรัฐ 

     โครงการ “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจติดตาม PT-INR ด้วยระบบ Point of Care เพื่อปรับยาและเฝ้าระวังยาในผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (วอร์ฟาริน)” นี้เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากปัญหาที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามผลการรักษาโดยใช้ยาดังกล่าว โดยดัชนีที่ใช้ชี้วัดผลการรักษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ International Normalized Ratio (INR) โดยวิธีการวัดค่า INR ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือวิธีทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีข้อจำกัดเนื่องจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากร ทำให้การตรวจด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการนี้สามารถทำได้ในสถานพยาบาลเพียงบางแห่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ระบบ Point of Care (POC) ซึ่งทำให้สถานพยาบาลที่มีข้อจำกัดเหล่านั้นสามารถวัดค่า INR ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยจะสามารถรับการตรวจติดตามค่า INR ได้ในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่พักอาศัย  ด้วยเหตุนี้ จึงมีการประเมินความคุ้มค่าผ่านการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการมีระบบส่งต่อผู้ป่วยเพื่อตรวจติดตามค่า INR ด้วยระบบ POC เปรียบเทียบกับการที่ผู้ป่วยรับการตรวจติดตามค่า INR ด้วยการตรวจด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการ โดยโครงการนี้ดำเนินการเพื่อจัดทำข้อมูลประกอบการตัดสินใจบรรจุระบบ Point of Care เข้าในชุดสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อไป

ภายหลังจากการนำเสนอผลวิจัย ผู้เข้าประชุมได้มีข้อเสนอแนะดังนี้

·    การใช้ระบบ POC จะมีข้อดีในแง่ที่ช่วยกระจายภาระงานจากโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ไปยังโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลขนาดเล็ก ทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลขนาดเล็กอีกด้วย

·    INR ที่เป็นเป้าหมายในการรักษาที่เหมาะสมในประเทศไทยควรต่ำกว่า INR ที่เป็นเป้าหมายในการรักษาในผู้ป่วยชาติอื่น ทั้งนี้ควรมีการทำการศึกษาต่อไปในอนาคต

·    ในการตรวจรักษาทั่วไป ควรมีการสนับสนุนให้บันทึกค่า INR ของผู้ป่วยขณะที่มีการเกิด stroke ทั้งชนิดเลือดออกและชนิดอุดตัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลต่อไป

ติดตามรายงานการประชุมได้ที่ https://www.hitap.net/research/13027

 

5 มิถุนายน 2557

Next post > HITAP เข้าร่วมเทศกาลหนังขายยาครั้งที่ 3 : OFF LABEL ร่วมเสวนาในหัวข้อ‘ความจริงเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยาข้ามชาติ ธุรกิจที่ไม่รู้จัก’ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

< Previous post ใช้พลาสติกอ่อนใส่อาหาร-น้ำดื่มร้อนๆ เสี่ยงเจอสารก่อมะเร็งมากกว่า

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด