logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เปิดวงคุย ทบทวนนโยบายการให้บริการอุปกรณ์สำหรับคนพิการ

วันที่ 30 พฤษภาคม 2557 คณะผู้วิจัยโครงการทบทวนชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ หนึ่งในงานวิจัยของ HITAP จัดประชุมเพื่อขอข้อมูลและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในงานบริการสุขภาพคนพิการ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการทำวิจัยเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ของผู้พิการ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจากหลายภาคส่วน เช่น ผู้แทนระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบ ผู้แทนจากศูนย์สิรินธร ผู้แทนมูลนิธิขาเทียม ผู้แทนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์และนักวิชาการ

นายธีระ ศิริสมุด นักวิจัยหลักในโครงการนำเสนอภาพรวมข้อมูลผู้พิการในประเทศไทย พบว่ามีจำนวนผู้พิการอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ของประชากร โดยผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวมีจำนวนมากที่สุด ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้พิการประเภทอื่น ๆ เช่น ด้านการได้ยิน ด้านการมองเห็น ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้เป็นต้น อย่างไรก็ดี กลับพบว่ามีผู้พิการเพียงร้อยละ 22 ที่ใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยต่าง ๆ นายธีระให้ข้อมูลว่า สาเหตุที่ผู้พิการไม่ได้ใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยมีหลายประเด็น เช่น อุปกรณ์เครื่องช่วยไม่ตอบสนองความแตกต่างด้านกายภาพหรือการใช้งานของผู้พิการแต่ละคน ข้อจำกัดของระบบประกันสุขภาพแต่ละระบบ ความหลากหลายในทางปฏิบัติเมื่อจะเบิกอุปกรณ์ หรือขาดระบบดูแลซ่อมบำรุง เป็นต้น

ภายหลังจากนักวิจัยนำเสนอผลการทบทวนสถานการณ์เบื้องต้น ได้เปิดประเด็นพูดคุยกับผู้เข้าร่วมหลายประเด็นเพื่อระดมความเห็นและขอข้อมูล ได้แก่ ประเด็นการเข้าถึงอุปกรณ์เครื่องช่วย, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการของผู้พิการ และผลที่เกิดจากการให้บริการของรัฐจากทั้ง 3 กองทุน ทั้งนี้ผู้ร่วมประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อโครงการวิจัย

ประเด็นหนึ่งที่ผู้ร่วมประชุมได้ให้ข้อคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจคือ แม้ประเทศไทยจะมีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลบริการสุขภาพผู้พิการ แต่การทำงานเป็นไปในลักษณะต่างตนต่างทำไม่มีหน่วยงานหลักที่ดำเนินการเป็นเจ้าภาพที่แท้จริง ส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา

ภายหลังจากการประชุมในวันนี้ คณะผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้ไปสรุป เพื่อจัดวงเสวนากับผู้กำหนดนโยบายอีกครั้ง ก่อนจักทำรายงานวิจัยเพื่อนำเสนอต่อผู้กำหนดโนบายนำไปใช้ในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ

ติดตามความคืบหน้างานวิจัยได้ที่ : 

https://hitap.net/research/13459

2 มิถุนายน 2557

Next post > เปิด 9 โรคเสี่ยงระบาดหนักฤดูฝน

< Previous post ภาพบรรยกาศ HITAP at WHO | World Health Assembly 2014 in Geneva

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด