logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
สพฉ. หวั่นผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมอง คร่าชีวิตคนไทยอันดับต้นๆ แนะวิธีสังเกตอาการ “หน้าเบี้ยว-ปากเบี้ยว-พูดไม่ชัด” ให้รีบโทร. สายด่วน 1669 ย้ำหากช่วยเหลืออย่างทันกาลภายใน 3 ชั่วโมงผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตสูง
        องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้วันที่ 24 พ.ค. ของทุกปี เป็นวันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก หรือวันหลอดเลือดสมอง ซึ่งโรคนี้ถือว่าเป็นโรคที่อันตรายมาก ที่สำคัญอยู่ในอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนไทย โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นดับ 2 ของประชากรอายุมากกว่า 60 ปี และเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 5 ของประชากรอายุมากกว่า 15-59 ปี อีกทั้งในแต่ละปีมีคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 6 ล้านคน ส่วนในประเทศไทยโรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในผู้หญิง และเป็นอันดับสามในผู้ชาย ซึ่งผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยโรคดังกล่าว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทันกาล แม้จะไม่เสียชีวิตแต่ส่วนใหญ่ก็มักเกิดความพิการ
        
        นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นหนึ่งในโรคฉุกเฉิน ที่ปัจจุบันมีอัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้น โดยโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก โดยปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้มีหลายปัจจัยทั้งที่ป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ อาทิ อายุมากขึ้น หลอดเลือดสมองจะเสื่อมตามไปด้วย หรือเกิดภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ และคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น คือ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานซึ่งเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย หรือผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคหัวใจ สูบบุหรี่เป็นประจำ ขาดการออกกำลังกายก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
       
        เลขาธิการ สพฉ. กล่าวว่า สำหรับผู้ที่มีญาติใกล้ชิด หรือพบผู้ป่วยโรคดังกล่าว สามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการแขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน มึนงง วิงเวียน ทรงตัวไม่ได้ ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ ซึ่งส่วนมากทุกอาการจะเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างฉับพลัน ดังนั้นผู้พบเห็นต้องรีบขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ โทรสายด่วน 1669 เพื่อนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอย่างทันที โดยต้องระลึกเสมอว่าการรักษาผู้ป่วยโรคนี้จะต้องรีบส่งเข้ารักษาภายในเวลา3 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยจะลดอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือพิการ โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดชนิดฉีดผ่านทางหลอดเลือดดำ (Intravenous recombinant tissue-type plasminogen activator) ซึ่งสาเหตุที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากภายใน 3 ชั่วโมงแรกเซลล์สมองยังไม่ถูกทำลายอย่างถาวร และตัวยานี้จะกระจายเข้าไปละลายลิ่มเลือดที่อุดตันในสมองทันที ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองดังเดิม
        
        อย่างไรก็ตามการป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด โดยต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก คือต้องหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง

 

26 พฤษภาคม 2557

Next post > Dr.Yot gave a Skype interviewed about the Health Economics and Health Technology Assessment (HTA) Video across the World

< Previous post ประชุม Think Tank เพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 2/2557 เรื่อง สุขภาพของ ผู้สูงอายุไทย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด