logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: เดลินิวส์

ฉบับวันที่: 29 สิงหาคม 2016

‘ทุกข์ผู้ป่วย’ ถูกโบ้ย (1) ‘ประกันสังคม’ไฉน?’รพ.เอกชนชิ่ง!’

กรณี โรงพยาบาลเอกชนถอนตัวจากระบบประกันสังคม มีกระแสข่าวเป็นระยะ อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีข่าวว่าในปี 2560 แม้จะมีโรงพยาบาลสมัครเข้าอยู่ในระบบประกันสังคม 4 แห่ง แต่ก็มีโรงพยาบาลเอกชน 1 แห่งในกรุงเทพฯ ขอถอนตัวจากระบบประกันสังคม ซึ่ง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่เลือกใช้สิทธิรักษาพยาบาลที่นี่ ที่มีจำนวนมาก จะต้องเปลี่ยนโรงพยาบาลใหม่!! โดยกรณีโรงพยาบาลเอกชนถอนตัวจากระบบประกันสังคมนี้ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ กระทบกับประชาชนจำนวนมาก!! ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เสียง ’ปุจฉา“ ทั้งต่อโรงพยาบาลเอกชนที่ถอนตัว ต่อระบบประกันสังคม

โรงพยาบาลเอกชนทำไมมีการถอนตัว?
ระบบประกันสังคมมีปัญหาอะไร-อย่างไร?
และทำไมผู้ประกันตนต้องเจอปัญหานี้?

ทั้งนี้ ย้อนดูโดยสังเขปเกี่ยวกับ “ประกันสังคม” กับระบบดังกล่าวนี้ พัฒนามาจาก “กองทุนเงินทดแทน” ที่ถือเป็นก้าวแรกของ “การประกันสังคมในประเทศไทย” ซึ่งกองทุนเงินทดแทนนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน จนในเวลาต่อมา หลังจากได้มีการผลักดัน “พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533” สำเร็จ ประเทศไทยจึงมีระบบการประกันสังคมเต็มรูปแบบเกิดขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการ ที่จะได้รับความคุ้มครอง ทั้งกรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงานสำหรับในประเด็นเจ็บป่วย การรักษาพยาบาล กรณีมีการถอนตัวจากระบบของโรงพยาบาลเอกชนนั้น กรณีนี้มีข่าวอยู่เป็นระยะ ๆก่อนหน้าที่จะมีข่าวโรงพยาบาลชื่อดังในกรุงเทพฯบางแห่งจะถอนตัวในปีหน้า ที่ผ่าน ๆ มาก็มีข่าวแบบนี้อยู่เนือง ๆ มีข่าวสถานพยาบาล-โรงพยาบาลเอกชนถอนตัวจากระบบประกันสังคม เช่นที่ จ.สุรินทร์ จ.ชัยนาท จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ผู้ประกันตนต้อง ’เดือดร้อนเปลี่ยนที่รักษา!!

“ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ลองไล่เรียงดูข้อมูล “จำนวนผู้ประกันตน” ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมมีการเผยแพร่ไว้ ก็มีตัวเลขที่น่าสนใจ กล่าวคือ…จำนวนผู้ประกันตนภาคบังคับ ตามมาตรา 33 ในปี 2558 ที่ผ่านมา มีอยู่ 10,391,761ราย ขณะที่ปี 2559 ยอดตัวเลข ณ เดือน ก.ค. มีจำนวนผู้ประกันตนภาคบังคับตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม อยู่ที่ 10,389,934 ราย ด้าน จำนวนผู้ประกันตนภาคสมัครใจ ตามมาตรา 39 ในปี 2558 มีอยู่ 1,196,762 ราย ส่วนปี 2559 สิ้นสุด ณ เดือน ก.ค. มี 1,236,398 ราย และ จำนวนผู้ประกันตนภาคสมัครใจ ตามมาตรา 40 ปี 2558 อยู่ที่ 2,200,667 ราย ส่วนปี 2559 สิ้นสุด ณ เดือน มิ.ย. มีผู้ประกันตนอยู่ที่ 2,205,170 ราย …ซึ่งจากตัวเลขนี้ก็จะเห็นได้ว่า มีผู้ประกันตนรวมมากกว่า 13.8 ล้านราย ขณะที่ข้อมูล “จำนวนสถานพยาบาลประกันสังคม” ทั้งรัฐและเอกชนนั้น…ในปี 2559 มีจำนวนสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการอยู่ที่ 2,565 แห่ง แบ่งเป็นสถานพยาบาลหลัก จำนวน 240 แห่ง สถานพยาบาลเครือข่าย จำนวน 2,325 แห่ง โดยเมื่อเทียบกับปี 2558 ที่มีจำนวนสถานพยาบาล 2,475 แห่ง แบ่งเป็นสถานพยาบาลหลัก จำนวน 241 แห่ง สถานพยาบาลเครือข่าย จำนวน 2,234 แห่ง…นี่ก็ชวนให้เกิดปุจฉาว่า…ก็มีสถานพยาบาลเข้าร่วมเพิ่มขึ้น แต่เหตุใดก็มี…เอกชนถอนตัวด้วย?? ผู้ประกันตนต้องย้ายที่รักษาโดยไม่ได้สมัครใจ!!

ทั้งนี้ กับกรณีดังกล่าวนี้ ก็มีหลายคนมองไปที่เรื่อง ’เงิน“ ที่ทางกองทุนฯจ่าย ที่ทางสถานพยาบาลรับ ว่าจุดนี้ ’เป็นปัจจัย?“ หรือไม่?-อย่างไร? โดยเรื่องเงินในจุดนี้ก็มีข้อมูลในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ณ วันที่ 3 ก.พ. 2559ว่า…ปัจจุบัน สำนักงานฯจ่ายเงินให้สถานพยาบาลเป็นค่าตอบแทนค่าบริการทางการแพทย์ผู้ประกันตนเป็นรายหัว โดย…จ่ายด้วยวิธี เหมาจ่ายรายหัวในอัตรา 1,460 บาทต่อคนต่อปี และยังมีการจ่าย…ค่าบริการทางการแพทย์สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพ HA/JCI อีก ในอัตรา 80 บาทต่อคนต่อปี ถ้า HA ขั้นที่ 2 อัตรา 40 บาทต่อคนต่อปี, ค่าภาระเสี่ยงค่าบริการทางการแพทย์ในอัตรา 432 บาทต่อคนต่อปี รวมถึงยังมีการจ่ายในอัตรา 560 บาทต่อคนต่อปีกรณีรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยโรคที่ค่าใช้จ่ายสูง

ขณะที่ “สถานะทางการเงิน” ที่ก็มีผู้ประกันตนตั้งข้อสังเกตเช่นกันนั้น กับประเด็นนี้ มีข้อมูลของสำนักงานประกันสังคมระบุว่า… จากการจัดเก็บเงินสมทบจากลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล ตั้งแต่ปี 2534 กองทุนประกันสังคมตามงบการเงิน ณ ก.ย. 2558 มีสินทรัพย์ (หนี้สินและทุน) จำนวน 1,436,934 ล้านบาท โดยมีการแบ่งเป็นเงินกองทุนเพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตาย จำนวน 70,046 ล้านบาท กรณีสงเคราะห์บุตร ชราภาพ จำนวน 1,245,673 ล้านบาท กรณีว่างงาน จำนวน 113,395 ล้านบาท และเป็นเงินกองทุนในส่วนของมาตรา 40 จำนวน 7,821 ล้านบาท ขณะที่มีการจัดสรรเงินกองทุนไปลงทุน จำนวน 1,339,290 ล้านบาท หรือคิดเป็น 93.20% ของเงินกองทุนสะสมทั้งหมด…

และก็มีข่าวว่าครึ่งปีแรกของปี 2559 นี้การลงทุนได้ผลตอบแทนที่รับรู้แล้วราว 25,828 ล้านบาท จากยอดเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.46 ล้านล้านบาท…เหล่านี้เป็นบางส่วนของ “ตัวเลขเม็ดเงิน” ที่เกี่ยวกับ “ประกันสังคม” ที่ก็มิใช่น้อย ๆ ท่ามกลางกระแสข่าวที่มีมาตลอดเกี่ยวกับการ พัฒนาระบบประกันสังคม-ประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตน แต่ผู้ประกันตนก็ ยังมีปัญหา ในบางกรณี รวมถึง… มีโรงพยาบาลเอกชนถอนตัวจากประกันสังคมจะด้วยเหตุปัจจัยใด? ผู้ประกันตนก็วุ่น-ก็ทุกข์

“ทุกข์ผู้ป่วย” กรณีนี้…ยังมีต่ออีกตอนหน้า…..’ทุกข์ผู้ป่วย’ ถูกโบ้ย (2) ‘ประกันสังคม’ไฉน?’ รพ.เอกชนชิ่ง!’

6 กันยายน 2559

Next post > สกู๊ปหน้า1: 'ทุกข์ผู้ป่วย' ถูกโบ้ย (2) 'ประกันสังคม' ไฉน?'รพ.เอกชนชิ่ง!'

< Previous post นักวิจัยภูฏานศึกษาดูงานด้าน HTA กับ HITAP

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด