logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: เดลินิวส์

ฉบับวันที่: 30 สิงหาคม 2016

สกู๊ปหน้า1: ‘ทุกข์ผู้ป่วย’ ถูกโบ้ย (2) ‘ประกันสังคม’ ไฉน?’รพ.เอกชนชิ่ง!’

“รู้ข่าวว่าโรงพยาบาลนี้เขาจะออกจากระบบ แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำยังไงต่อ ก็ได้ยินคนไข้คนอื่น ๆ ที่นั่งรอตรวจด้วยกันคุยกัน ส่วนใหญ่ก็คุยกันแต่เรื่องนี้”…เป็นเสียงของ “ผู้ประกันตน” ในระบบ “ประกันสังคม” รายหนึ่ง ซึ่งเป็น “ผู้ป่วย” ด้วยโรคบางโรคที่ “ต้องรักษาต่อเนื่อง” โดยผู้ประกันตนรายนี้เลือกใช้สิทธิระบบประกันสังคมที่’โรงพยาบาลเอกชน” แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯโรงพยาบาลที่เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวกรณีจะ ‘ถอนตัวออกจากระบบประกันสังคม” นี่ก็เป็นตัวอย่าง ‘ทุกข์ผู้ป่วย” จากกรณีนี้…ทั้งนี้ กรณี โรงพยาบาลเอกชนถอนตัวออกจากระบบประกันสังคม ที่มีมาเป็นระยะ และช่วงหลัง ๆ ยิ่งมีการตั้งคำถามกันมากถึง”สาเหตุ” ที่โรงพยาบาลเอกชนถอนตัว กับเรื่องนี้กรณีนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันไม่น้อยทั้งในสังคมออนไลน์และในสังคมทั่วไป ขณะที่ก็เคยมีนักวิชาการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลาย ๆ คน หลาย ๆ สำนักตั้งข้อสังเกต “ระบบประกันสังคม” ไว้บางรายตั้งคำถาม ‘ระบบนี้ยังดีอยู่หรือไม่?”

จาก “ทุกข์ผู้ป่วย” กรณีนี้ที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก กับ “ระบบประกันสังคม” นั้น ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ลองย้อนดูบทวิเคราะห์ที่เคยมีนักวิชาการหลายคนวิเคราะห์และสะท้อนไว้ พบว่า…นับตั้งแต่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เกิดขึ้นมา จนเป็นระบบประกันสังคมแบบเต็มรูปแบบ จนถึงตอนนี้เป็นเวลากว่า 26 ปี เสียงวิจารณ์เกี่ยวกับ ปัญหาที่เกิดขึ้น มีมาเป็นระยะ ๆ…เหมือนหนังม้วนเก่า…แถมมีหนังใหม่แทรก ยกตัวอย่างเช่น…นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ รายหนึ่งได้เคย “ตั้งข้อสังเกต” ไว้ว่า…ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น อาจมีปัจจัยมาจากโครง สร้างองค์กรหรือไม่? ด้วยความที่ เป็นระบบราชการ จึงอาจทำให้ ขาดความเป็นอิสระและความคล่องตัว รวมถึงเคยมีการ “ตั้งข้อสงสัย”เกี่ยวกับความรับผิดชอบใน การบริหารกองทุนของระบบนี้ ว่า…ทำไมถึงไม่ต้องรับผิดชอบในกรณีที่ถ้าหากเกิดความผิดพลาด? ทั้งในเรื่องของการบริหารงาน และเรื่องการใช้เงินกองทุน และก็เคยนำไปสู่การ “ตั้งคำถาม” ตามมา ว่า…’ควรจะมีการปรับปรุงระบบและโครงสร้างองค์กรหรือไม่?-อย่างไร?”…นี่ว่ากันถึงกระแสในอดีตที่เคยเกิดขึ้น เช่นเดียวกับข้อสังเกตจากนักวิชาการ ไฮแทป หรือโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ที่เคยมีการมองที่เรื่อง ประสิทธิภาพในการใช้เงินของกองทุนฯ จากกรณีที่เมื่อผู้ประกันตนเกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือทุพพลภาพจากการทำงาน ว่า…ในเมื่อตามกฎหมายนั้นสามารถใช้เงินในส่วนนี้ได้มากถึง 22% จากดอกเบี้ยเงินฝากของกองทุนฯ เพื่อนำมาใช้เป็นค่าชดเชยในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน แต่เมื่อพิจารณาแล้ว กลับพบว่า…มีการนำเงินกองทุนฯ ส่วนนี้ไปใช้เพียง 15% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าที่กฎหมายได้กำหนดไว้มาก นี่ทำให้นักวิชาการไฮแทปรายนี้รู้สึกแปลกใจและมีคำถาม…’ทำไม? ในขณะที่เงินกองทุนฯ เพิ่มสูงขึ้น แต่ผู้ประกันตนกลับได้รับสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพน้อยลง?” นี่ก็กระแสในอดีตที่ผู้ประกันตนต่างก็มีปุจฉา?

มาถึงปัจจุบัน กรณี โรงพยาบาลเอกชนถอนตัวออกจากระบบประกันสังคม กรณีที่เริ่มมี “ปุจฉา” มาก ซึ่งแม้มีโรงพยาบาลอื่นในย่านเดียวกันทดแทน แต่ก็ทำให้ ผู้ประกันตนต้องวุ่นวายเดือดร้อนในการเปลี่ยนที่รักษาโดยไม่ได้สมัครใจ อีกทั้งยังมีประเด็น ผู้ประกันตนที่เป็นผู้ป่วยต้องรักษาต่อเนื่องกังวลเรื่องการรักษาเมื่อต้องย้ายที่รักษา โดยกรณีโรงพยาบาลเอกชนถอนตัวจากระบบประกันสังคมนี้ เคยมีกระแสจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องประมาณว่า “เป็นเรื่องปกติ” และก็ “เป็นเรื่องการบริหารของโรงพยาบาลเอกชน” ขณะที่ผู้ประกันตนระบบนี้หลายคนก็วิพากษ์ว่า ‘โรงพยาบาลคงต้องการอัพเกรด?” หรือประกันสังคมมีผลกับเกรดโรงพยาบาล??

อย่างไรก็ตาม ก็เคยมีสื่อสะท้อนเสียงจากฝ่ายโรงพยาบาลเอกชนคู่สัญญาประกันสังคมไว้ กรณี โรงพยาบาลเอกชนถอนตัวออกจากระบบประกันสังคม ประมาณว่า…มีการอ้างว่าเพราะระบบนี้ มีความล่าช้าในการจ่ายเงิน? ขณะที่ อัตราเหมาจ่ายรายหัวต่อคนต่อปี 1,460 บาทไม่มีการปรับมาหลายปีแล้ว? เมื่อไม่สามารถแบกรับในเรื่องนี้ก็ต้องออกจากระบบ? ทั้งนี้ จะด้วยเหตุไฉน? จะอย่างไรก็ตาม กับผู้ประกันตนระบบประกันสังคมที่ต้องเจอกับกรณีดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่ต่างก็มองว่า “เป็นเรื่องไม่ควรเกิด!!” ต่างก็คิดว่า “ไม่ควรต้องย้ายที่รักษาโดยไม่สมัครใจ!!” ซึ่งกับผู้ที่ป่วยที่ต้องรักษาต่อเนื่องส่วนใหญ่ก็มองว่านี่เป็น’ทุกข์ผู้ป่วย”รูปแบบหนึ่ง โดยผู้ประกันตนรายหนึ่งที่ป่วยต้องรักษาต่อเนื่องแต่โรงพยาบาลจะถอนตัวออกจากระบบ สะท้อนผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ไว้ว่า…’รู้สึกกังวลใจมาก!!” โดยรายนี้เป็นคนไข้ที่ต้องรับยาและรักษาต่อเนื่อง ซึ่งได้เผยไว้ด้วยว่า…จากที่ได้คุยกับคนไข้คนอื่น ๆ หลายคน ที่เป็นคล้ายกัน เจอแบบนี้เหมือนกัน ก็กังวลเช่นกันเมื่อต้องเปลี่ยนที่รักษาตัวเองตอนนี้ก็ยังงงชีวิตอยู่ เคยถามคุณหมอที่รักษาอยู่ ว่าเมื่อถึงกำหนดต้องย้ายจะต้องทำอย่างไร คุณหมอก็ได้แค่แนะนำว่าให้สอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลดู โดยอาจต้องเอาประวัติการรักษาเดิมไปยื่นให้ทางโรงพยาบาลแห่งใหม่พิจารณาดูก่อน ส่วนจะรักษาอย่างไรต่อ ขึ้นกับการตัดสินใจของโรงพยาบาลแห่งใหม่” …ผู้ประกันตนรายนี้กล่าว พร้อมทั้งระบุไว้ด้วยว่า…คนไข้คนอื่น ๆ ที่เป็นคล้ายกัน เจอแบบนี้เหมือนกัน ต่างคนก็ต่างคิดว่า…สาเหตุกรณีนี้คืออะไรแน่? แต่ที่ตรงกันทุกคนคือต่างก็ “กังวลใจ-เป็นทุกข์” ‘โรงพยาบาลที่เคยรักษาถอนตัวประกันสังคม” ‘ทุกข์ผู้ป่วย” กรณีนี้…มีใครต้องสนใจบ้าง???.

อ่านสกู๊ปตอนที่ 1   สกู๊ปหน้า1: ‘ทุกข์ผู้ป่วย’ ถูกโบ้ย (1) ‘ประกันสังคม’ ไฉน?’รพ.เอกชนชิ่ง! 

6 กันยายน 2559

Next post > คนพิการ'โอดประกันสังคมให้สิทธิ์ด้อยกว่า'บัตรทอง'

< Previous post 'ทุกข์ผู้ป่วย' ถูกโบ้ย (1) 'ประกันสังคม'ไฉน?'รพ.เอกชนชิ่ง!'

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด