logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข (Health economic evaluation) เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

ที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารและบุคลากรสาธารณสุข เพื่อทำให้เกิดการเลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสม 

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment

Program) หรือ HITAP ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข มีผู้เชี่ยวชาญในการทำวิจัยเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและนานาชาติ โดย HITAP ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุขขึ้นทุกปี ซึ่งได้รับความสนใจจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง การอบรมการประเมินความคุ้มค่าในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10 โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลักสูตรเบื้องต้นและหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ 

หลักสูตรเบื้องต้น เหมาะสำหรับนักวิชาการและนักวิจัยจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา

ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข หลักสูตรนี้เน้นการบรรยาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ความสำคัญ วิธีการ และขั้นตอนของการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนบทบาทของผลการประเมินต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย 

หลักสูตรเชิงปฎิบัติการ เหมาะสำหรับผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรเบื้องต้น หรือผู้ที่มีความรู้พื้นฐาน

เกี่ยวกับการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ใหม่เพื่อนำไปปรับใช้กับงานที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรนี้เน้นการใช้โปรแกรมหรือแบบจำลองต่างๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากในปัจจุบันมี commercial software หลายชนิดที่สนับสนุนการสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ อย่างไรก็ดี แบบจำลองดังกล่าวมีราคาสูงและต้องเสียค่าใช้จ่ายในระยะยาว คณะผู้จัดจึงมุ่งหวังให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแบบจำลองโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ซึ่งหาได้ง่าย สะดวกในการตรวจสอบ และสามารถประยุกต์ใช้ในการวิจัยอื่นๆ 

การอบรมในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างศักยภาพด้านสาธารณสุขของประเทศ
ติดตามลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ 
https://www.hitap.net/ee/v2/index.php
7 พฤษภาคม 2557

Next post > WHO ภูมิภาคเอเชียใต้ สนับสนุนให้การประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพเป็นเครื่องมือในการพัฒนา UHC

< Previous post จุลสาร WHO เขตภาคพื้นเอเชีย [A SEARO Newsletter] กล่าวถึงงานวิจัย 2 ชิ้น ของ HITAP

Related Posts