“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

วัตถุประสงค์ของโครงการนี้มีเพื่อลดจำนวนอัตราการเสียชีวิตของแม่และลูก รวมถึงการระบบการให้บริการ Maternal and Child health services ภายใต้โครงการนี้ ซึ่งเป็นทำงานภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุขสหภาพเมียร์ม่า WHO และ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ตั้งแต่การศึกษา intervention ที่จะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของแม่และลูก และการเลือก intervention ที่จะใช้ในบริบทและปัญหาของสหภาพเมียร์ม่า ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขสหภาพเมียร์ม่า ได้ใช้ demand side financing โดยใช้วิธีการแจก voucher เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการด้านสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมากขึ้น
ในการเดินทางครั้งนี้นักวิจัยจากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณสุขสหภาพเมียร์ม่า และ WHO โดยเจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณสุขสหภาพเมียร์ม่า และ WHO นำเสนอผลการดำเนินงาน ส่วนโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพนำเสนอผลการประเมินจากแบบสอบถามและตารางสรุปผลการดำเนินงานที่ได้รับการตอบกลับ
นอกจากนี้มีการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ มารดาที่เพิ่งคลอดบุตร ครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ ประชาชน เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่กระทรวงสารณสุข และเจ้าหน้าที่จาก WHO จากนั้นมีการประชุมสรุปผลการดำเนินงานร่วมกัน
ซึ่งการดำเนินงานในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขสหภาพเมียร์ม่า WHO กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ที่ช่วยกันพัฒนาระบบสาธารณสุขของสหภาพเมียร์ม่าเพื่อให้ประชาชนในสหภาพเมียร์ม่ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น