“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

เมื่อวันที่ 16-17 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ดร.อินทิรา ยมาภัย และ น.ส.ณัฏฐา ไตรทศาวิทย์ ได้เข้าร่วมการประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบในโครงการ International Decision Support Initiative (iDSI) ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
การประชุมนี้จัดขึ้นเพื่อชี้แจงแผนการดำเนินงานทั้งภาพรวม ตลอดจนนำเสนอแผนการดำเนินงานในแต่ละวัตถุประสงค์ย่อยในรายละเอียด ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบในโครงการนี้ประกอบด้วยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โครงการ โครงการ iDSI นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนข้อมูลและพัฒนาศักยภาพของประเทศให้สามารถตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีโดยใช้หลักฐานทางวิชาการสนับสนุนการตัดสินใจ โดยมีทั้งหมด 4 วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ที่ 1 เป็นการศึกษาถึงรูปแบบของการดำเนินงานของโครงการ iDSI ให้มีความยั่งยืนในอนาคต การศึกษานี้รับผิดชอบโดย NICE International
วัตถุประสงค์ที่ 2.1 เป็นการศึกษาในส่วนการ Mapping หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนหลักฐานวิชาการเพื่อการตัดสินใจ และการพัฒนาเกณฑ์ในการคัดเลือกประเทศเพื่อทำการพัฒนาศักยภาพ รับผิดชอบโดย Office of Health Economics (OHE) เป็นหลัก
วัตถุประสงค์ที่ 2.2 ผู้รับผิดชอบหลักคือ Center for Global Development (CGD) ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้ข้อมูลการประเมินเทคโนโลยีในหลายประเทศ รับผิดชอบในการดำเนินงานหัวข้อ คู่มือการออกแบบชุดสิทธิประโยชน์
University of York ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์รับผิดชอบในวัตถุประสงค์ที่ 3 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียบวิธีการศึกษา (Methods)
และในวัตถุประสงค์ที่ 4 คือการพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินเทคโนโลยีของประเทศที่ได้รับการคัดเลือก เป็นการศึกษาความต้องการ และคัดเลือกประเด็นสำคัญ เพื่อทำการศึกษาเพื่อนำข้อมูลมาสนับสนุนการตัดสินใจ การศึกษาส่วนนี้จะดำเนินการโดย NICE International และ HITAP เป็นหลักในแต่ละวัตถุประสงค์ผู้เข้าร่วมประชุมได้อภิปรายถึงโอกาส ความเป็นไปได้ และมีการให้ข้อเสนอแนะต่อแผนการดำเนินงานโดยละเอียด นอกจากนั้น NICE International ได้วางแผนและนำเสนอรูปแบบการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การศึกษาในแต่ละวัตถุประสงค์มีความกลมกลืน และดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง