“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้า HITAP ได้รับเชิญจาก Rockefeller Foundation ให้เข้าร่วมประชุมเรื่อง Benefit Plans in Quest for Universal Health Coverage พร้อมนำเสนอประสบการณ์ของประเทศไทยในการใช้การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HTA) เพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งบทเรียนของการทำงานเพื่อการพัฒนาศักยภาพการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ได้แก่ พม่า เวียดนาม ภูฏาน และฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 13-14 มกราคม 2557 ซึ่งที่ประชุม ได้แสดงความสนใจ ซักถาม และอภิปรายอย่างกว้างขวาง
ประเด็นการพัฒนาระบบสุขภาพและการให้บริการประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากประชาคมโลกโดยเฉพาะแวดวงระบบสุขภาพ Rockefeller Foundation จึงพยายามสนับสนุนประเทศเหล่านั้นให้มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าของตนเอง เพราะเชื่อว่าการประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสิ่งดี นอกจากทำให้ประชากรมีสุขภาพดีอย่างถ้วนหน้า แล้วยังเป็นการลดความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม
การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะรัฐบาลของทุกประเทศทั่วโลกไม่สามารถสนับสนุนให้ประชากรเข้าถึงมาตรการและเทคโนโลยีทุกประเภท ดังนั้นการเลือกเฉพาะเทคโนโลยีและมาตรการที่ประสิทธิผล ความคุ้มค่า และเหมาะสมกับแต่ละบริบทของประเทศมีความจำเป็น
อย่างไรก็ตาม การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพยังไม่ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา Rockefeller Foundation จึงสนับสนุนให้ Center for Global Development จัดทำรายงานเพื่อถอดบทเรียนและให้ข้อเสนอแนะกับประเทศต่างๆ ในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ที่วางอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ของการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ซึ่งผลงานของ HITAP กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขของประเทศชิลี ได้ถูกยกย่องให้เป็นแบบอย่างและจะมีการศึกษาถอดบทเรียนในรายงานดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2558