logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
นักวิจัย HITAP นำเสนอผลการประเมินความคุ้มค่ายารักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังต่อคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข

วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 ภญ.วรัญญา รัตนวิภาพงษ์ นักวิจัย HITAP นำเสนอผลการศึกษาการประเมินความคุ้มค่าทาการแพทย์และผลกระทบด้านงบประมาณของการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง ต่อคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ในการประชุมครั้งที่ 2/2559 โดยมี รศ.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประธานการประชุม

ภญ.วรัญญา นำเสนอผลการศึกษาว่า ยารักษาไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังกลุ่มใหม่ DAAs  (Directly acting antivirals) ที่เปรียบเทียบ 3 สูตรการรักษาได้แก่ 1) sofosbuvir ร่วมกับ peginterferon alfa และ ribavirin 2) sofosbuvir ร่วมกับ daclatasvir และ 3) sofosbuvir ร่วมกับ ledipasvir มีต้นทุนที่ถูกกว่าและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นจากการรักษาด้วยยาสูตรมาตรฐานในปัจจุบัน ได้แก่ peginterferon alfa และ ribavirin (PR) โดยทางเลือกที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด คือ การตรวจสายพันธุ์ของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Genotype) และให้การรักษาด้วย sofosbuvir ร่วมกับ PR ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ 3 และยา sofosbuvir ร่วมกับ ledipasvir สำหรับการติดเชื้อสายพันธุ์ 1 และ 6 โดยสามารถประหยัดงบประมาณโดยรวมจากการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง, ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ถึง 230 ล้านบาท ในระยะเวลารวม 10 ปี

ภายหลังจากการนำเสนอผลการศึกษาในครั้งนี้ นักวิจัยจะนำข้อเสนอแนะที่ได้จากคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขไปปรับแก้ และนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติอีกครั้งในเดือนสิงหาคม

15 กรกฎาคม 2559

Next post > จัดประชุมกลุ่มย่อย การเข้าถึงและความเป็นไปได้ในการลงทุนให้บริการตรวจสมรรถภาพปอดด้วย spirometry ในโรงพยาบาลชุมชน

< Previous post นักวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูล โครงการประเมินการจัดบริการตรวจกรองกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด