logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

     กรมวิทย์การันตีเครื่องตรวจแอลกอฮอล์ในเลือด แม่นยำ วัดตัวเลขเป๊ะ เผยผลสอบเทียบตั้งแต่ ต.ค. 2555 ผ่านมาตรฐานทั้งหมด ส่วนที่ชำรุดเพราะหัววัดเสื่อมสภาพ ขาดการดูแลรักษา ส่งซ่อมเรียบร้อยแล้ว ขอประชาชนเชื่อใจตั้งด่านตรวจช่วงปีใหม่ วัดแอลกอฮอล์ในเลือดได้ถูกต้อง เที่ยงตรง ไร้ปัญหา

    วันนี้ (11 ธ.ค.)นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเพราะผู้ขับขี่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้หน่วยงานภาครัฐได้จัดตั้งด่านเพื่อตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ โดยวิธีการเป่าลมหายใจ ซึ่งเป็นวิธีที่กฎหมายกำหนดให้ใช้ในการตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเลือด หากเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งนี้ วิธีการตรวจดังกล่าวเป็นวิธีที่ง่ายให้ผลวิเคราะห์ที่รวดเร็ว เชื่อถือได้ และเครื่องดังกล่าวต้องได้รับการสอบเทียบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจในความถูกต้อง แม่นยำของตัวเลขที่ชี้ว่าผู้ขับขี่กระทำผิดกฎหมายหรือไม่ โดยข้อกำหนดของเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ กำหนดให้เครื่องต้องได้รับการสอบเทียบใหม่ทุก 6 เดือน เนื่องจากเครื่องมีหัววัดแบบเซลล์ไฟฟ้าเคมี ซึ่งคุณภาพของหัววัดจะเสื่อมสภาพลงตามระยะเวลา การใช้งานและต้องนำเครื่องมาทำสอบเทียบใหม่ตามข้อกำหนดเพื่อปรับให้หัววัดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       
       นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า จากข้อมูลเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ ที่หน่วยงานต่างๆ เช่น กรมการขนส่งทางบก สถานีตำรวจนครบาล สถานีตำรวจภูธร สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆ ส่งสอบเทียบยังสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ ต.ค. 2555 – ก.ย. 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,766 เครื่อง ผลการสอบเทียบพบว่า เครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด สำหรับเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ชำรุด มีสาเหตุมาจากหัววัดเสื่อมสภาพ การขาดการดูแลและการบำรุงรักษา เป็นต้น ซึ่งต้องส่งซ่อมยังบริษัทผู้แทนจำหน่ายและหลังจากส่งซ่อมแซมแล้ว จะต้องนำกลับมาสอบเทียบใหม่อีกครั้ง หากพบว่าเครื่องใดมีค่าความผิดพลาดเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดจะต้องทำการปรับตั้งค่าใหม่ในกระบวนการสอบเทียบ เพื่อให้เครื่องมีผลการทดสอบที่ถูกต้อง จึงจะสามารถนำไปใช้งานได้

11 ธันวาคม 2556

Next post > แพทย์ชี้ไม่มั่วเซ็กซ์ลดเสี่ยงมะเร็ง

< Previous post จักษุแพทย์แนะ 4 วิธีเลี่ยงอาการตาแห้ง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด