logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

      นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้มีมติเห็นชอบเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโดยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9/2556 วันที่ 5 สิงหาคม 2556 ที่ได้พิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบในหลักการกรณีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell Transplantation) สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยให้เป็นไปตามข้อบ่งชี้เฉพาะตามที่เสนอ (ยกเว้นผู้ป่วยทาลัสซีเมีย) เมื่อผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังแล้ว ดังนั้น คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง จึงได้ประชุมวันที่ 17 กันยายน 2556 และมีมติว่าเนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับบริการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดตามเงื่อนไขนี้ จะทำให้สามารถประหยัดงบประมาณจากการที่ไม่ต้องให้เคมีบำบัด และทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง จึงมีมติเห็นชอบกรณีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยให้เป็นไปตามข้อบ่งชี้เฉพาะที่ปรับปรุง (ยกเว้นผู้ป่วยทาลัสซีเมีย) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 เป็นต้นไป ให้นำเสนอคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทราบต่อไป โดยให้มีการคำนวณภาระงบประมาณในระยะยาวเพิ่มเติม
       
      นพ.วินัยกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ มติบอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2556 เห็นชอบให้เพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดได้ โดยคาดการณ์ค่าใช้จ่ายการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามเงื่อนไขเฉพาะใหม่ และในปี 2557 มีโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนให้บริการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดได้ 5 แห่ง ได้แก่ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.พระมงกุฎเกล้า รพ.จุฬาลงกรณ์ และรพ.สงขลานครินทร์ สำหรับ รพ.สงขลานครินทร์ในปี 2557 รักษาได้เฉพาะผู้ใหญ่ แต่ในปี 2558 จะสามารถรักษาผู้ป่วยเด็กได้ และในปี 2559 จะมีโรงพยาบาลให้บริการเพิ่มอีก 3 แห่ง คือ รพ.มหาราชเชียงใหม่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้ ในปี 2557 จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา 40 ราย ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายละ 800,000 บาท คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งปี 32 ล้านบาท ซึ่งจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษานั้นจะเพิ่มขึ้นทุกปี และคาดว่าในปี 2561 จะมีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ 60 ราย

25 พฤศจิกายน 2556

Next post > เศร้า! มีผู้ป่วยจิตเวช ถูกทิ้ง ไร้ญาติกว่า 500 คน

< Previous post HTAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษา การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของการใช้ยา peginterferon และribavirin ในข้อบ่งใช้สำหรับ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มต่างๆ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด