logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

      วันนี้ (12 พ.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ โรงพยาบาลศิริราช  ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดกิจกรรมวันเบาหวานโลก ภายใต้แนวคิด “พิทักษ์อนาคตไทย พ้นภัยเบาหวาน” จัดโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 พ.ย. 2556 ว่า เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และมีเพียงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ทำลายระบบประสาทส่วนปลาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้
       
       ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวอีกว่า ในแต่ละปีรัฐต้องสูญเสียเงินจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะโรคดังกล่าวปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรม แม้การรักษาในปัจจุบันจะมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวมากขึ้น แต่ก็มีโอกาสเจอปัญหาภาวะแทรกซ้อน การป้องกันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเป้าหมายหลักคือ เพื่อลดระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับระดับปกติมากที่สุด ด้วยการกินยาและการฉีดอินซูลินควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้
       รศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และประธานศูนย์เบาหวานศิริราช กล่าวว่า โรคเบาหวานจะรอสังเกตอาการเตือนอีกต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงมาก ซึ่งเกิดจากปัจจัยการดำรงชีวิตของคนปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นคนไทยมีพันธุกรรมของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาก จึงขอแนะนำให้ตรวจเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะ 1.กลุ่มเด็กอายุ 10 ขวบขึ้นไป หากมีภาวะอ้วนและคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวานควรมาตรวจทันที  2.ผู้ใหญ่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไปต้องตรวจอย่างสม่ำเสมอ และ 3.ผู้หญิงที่คลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม และคนในครอบครัวมีประวัติป่วยโรคเบาหวาน
       
       รศ.พญ.สุภาวดี กล่าวอีกว่า หากตรวจแล้วพบว่ามีความเสี่ยงจะต้องรีบควบคุมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารหวาน มัน เค็ม จะต้องลดลง ร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อให้น้ำหนักคงที่ และดัชนีมวลกายเป็นปกติ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานก็จะน้อยลงแม้จะมีอายุเพิ่มมากขึ้นก็ตาม โดยระดับน้ำตาลในเลือดปกติที่ไม่เป็นโรคเบาหวานจะต้องอยู่ที่ 80-150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
       
       “การจัดงานกิจกรรมวันเบาหวานโลก เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ศูนย์เบาหวานศิริราชดำเนินการเพื่อให้ความรู้กับประชาชน เพราะหากประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพร่างกายที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานได้ ทั้งนี้ ภายในงานจะมีการตรวจสุขภาพ อาทิ ตรวจระดับน้ำตาล ตรวจหลอดเลือดที่คอ วัดปริมาณไขมัน วัดความดันโลหิต ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และปรึกษาปัญหาสุขภาพ ฯลฯ พร้อมมีการเสวนาโดยวันที่ 12 พ.ย. เรื่อง “อยู่เป็นสุขกับเบาหวาน ดวงตาแจ่มใส ไตไร้โรค” วันที่ 13 พ.ย. เรื่อง “อยู่เป็นสุขกับเบาหวาน หัวใจแข็งแรง สมองดี เท้าปลอดภัย” และวันที่ 14 พ.ย. เรื่อง “ปรับและเปลี่ยนเพื่อป้องกันและอยู่กับเบาหวาน” รวมถึงการสาธิตการออกกำลังกาย และรู้จักโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เป็นต้น ตั้งแต่เวลา 08.00-15.00 น. ณ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช” รศ.พญ.สุภาวดี กล่าว

12 พฤศจิกายน 2556

Next post > สธ.วางระบบป้องกัน 3 โรคตลอดฤดูหนาว

< Previous post รีดภาษีน้ำชาเขียว! จ่ายเงินซื้อปัญหาสุขภาพในราคาสูงกว่าเดิม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด