logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

     เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) ทาง HITAP นำโดย ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์  ภญ.พิศพรรณ วีระยิ่งยง และ ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว ได้มีการนำเสนอแผนงานสนับสนุนระบบบริการส่งเสริมสุขภาพและกันโรคต่อคณะกรรมการ สปสช 2 เรื่องด้วยกันเรื่องแรก คือ โครงการคัดกรองพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการคัดกรองสุขภาพประชากรในประเทศไทย ซึ่งนำเสนอโดย ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว โดยมีข้อเสนอแนะ 5 ประการด้วยกันได้แก่

1.) นำมาตรการตรวจคัดกรองสุขภาพที่ผู้วิจัยนำเสนอเข้าสู่สิทธิประโยชน์พื่อให้ประชาชนได้รับบริการตรวจคัดกรองสุขภาพอย่างสมเหตุสมผล

2.) ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพและประชาชนเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสม และพยายามลดการตรวจคัดกรองที่ไม่จำเป็น

3.) สนับสนุนการพัฒนาทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความสามารถในการให้บริการตรวจคัดกรองในระดับที่ได้มาตรฐานและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4.) สร้างระบบประสานงานและติดตามการตรวจคัดกรองสุขภาพ จัดให้มีการประกันคุณภาพและมีระบบรายงานผลการปฏิบัติงานทั้งระดับประเทศ รายภูมิภาค และกลุ่มประชากรที่มีเศรษฐานะแตกต่างกันเป็นประจำทุกปี

5.) ให้สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการตรวจคัดกรองสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่านโยบายการตรวจคัดกรองมีความทันสมัยและเหมาะสมกับสังคมไทยอย่างแท้จริง

   

        เรื่องที่ 2 คือ การพัฒนานโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับเด็กและเยาวชน นำเสนอโดย  ภญ.พิศพรรณ วีระยิ่งยง โดยมีข้อเสนอแนะสำคัญดังนี้

1.) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  •    ควรมีกลไกบูรณาการระหว่างหน่วยงานระผิดชอบในทุกระดับและลงทุนพัฒนา

–          ฐานข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยครอบคลุมทุกจังหวัด

–          ระบบการประเมินนโยบายและมาตรการ

–          ระบบติดตามประเมินผล พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ทั้งในระยะ สั้น กลาง ยาว ให้ชัดเจน

  •      ผลักดันร่างพระราชบัญญัติอนามัยการเจริญพันธุ์
  •      พม. ร่วมกับ ศธ. ร่วมดำเนินงานด้านการัฒนาศักยภาพเด็กและวัยรุ่นหญิงทั้งความรู้และทักษะการใช้ชีวิต พร้อมเพิ่มมาตรการให้นักเรียนหญิงอยู่ในโรงเรียนนานที่สุด และลดการตีตราแม่วัยรุ่น

2.) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  •        ศธ. กำหนดนบายเกี่ยวกับการสอนเพศศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย พร้อมพัฒนาทักษะครูผู้สอน
  •        สธ. พัฒนางานด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น และร่วมกับ สปสช. พัฒนาระบบเข้าถึงถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดและบริการให้คำปรึกษาที่ปกป้อง identity ของผู้รับบริการแต่สามารถบันทึกข้อมูลเพื่  การติดตามและประเมินผลต่อไปได้
  •        สธ. ร่วมกับ สปสช. พัฒนาระบบคัดกรองโรค Chlamydia รวมทั้งติดตามและประเมินผล

3.) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : ความรุนแรง

  •        สถานพยาบาลควรมีระบบคัดกรอง บันทึกข้อมูล และส่งต่อผู้ถูกทำร้ายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น OSCC
  •        อปท. ทำงานผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ในการเฝ้าระวังและแก้ปัญหาความรุนแรง
  •        สสส ร่วมกับ สสท สนับสนุนสื่อสร้างสรรค์ที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหา พร้อมสอดแทรกแง่คิดในการปฏิบัติตัว
  •        สนับสนุนงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับกลไกการดำเนินงานเชิงรุก เพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรง พร้อมกำหนดให้มีการวัดประสิทธิภาพของโครงการ

4.) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : การติดสารเสพติด

  •        สถานพยาบาล สธ. และ สปสช. ร่วมกันพัฒนาระบบบริการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดที่สามารถให้บริการอย่างทั่วถึงและไม่ก่อให้เกิดตราบาปหรือกลายเป็นเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ได้รับโทษตามกฎหมาย (กรณียาเสพติด)
  •        ให้รักษาการเลิกบุหรี่โดยใช้ยา Bupropion หรือ Varenicline ในชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  •        ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลักดันพื้นที่สร้างสรรค์ สำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชนต่างๆ

5.) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : เด็กติดเกมส์

  •        รัฐบาลกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบปัญหาติดเกมส์ในระดับชาติ โดยหน่วยงานดังกล่าวควรเป็นผู้กำหนด นิยาม เกณฑ์การวินิจฉัย เฝ้าระวังประเมินผลกระทบ สร้างองค์ความรู้ และสื่อสารสังคมเพื่อสร้างความตระหนัก
  •        สนับสนุนให้ อปท. ติดตามควบคุมร้านเกมส์ให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎกระทรวงผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
  •        จัดตั้งคลินิกรักษาผู้มีปัญหาติดเกมส์ในรูปแบบของการวิจัยและพัฒนา เพื่อหารูปแบบและมาตรการที่เหมาะสมสำหรับบริบทไทย

6.) ข้อเนอแนะเชิงนโยบาย : โรคสมาธิสั้น ภาวะบกพร่องการเรียนรู้และออริทึม

  •        ศธ. ร่วมกับสธ. พัฒนาระบบการคัดกรองโรคสมาธิสั้น ภาวะบกพร่องการเรียนรู้ และ ออทิซึม ในโรงเรียน พร้อมทั้งเชื่อมต่อการตรวจยืนยันผลในสถานพยาบาล เพื่อการรักษาและติดตามผลการรักษาอย่างเป็นระบบ

     ทั้งนี้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังกล่าวกำลังพิจารณาโดยคณะกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

29 ตุลาคม 2556

Next post > ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมล่าช้าทำผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคน เสียสิทธิ์

< Previous post HITAP เข้าร่วมการประชุมผู้แทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเสนอและคัดเลือกหัวข้อปัญหาและ/หรือเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 2/2556

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด