logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
Journal Club เรื่อง การประเมินความคุ้มค่าของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่ฉีดอินซูลินในบริบทประเทศไทย

วันที่ 21 สิงหาคม 2556 HITAP จัด Journal Club เรื่อง การประเมินความคุ้มค่าของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่ฉีดอินซูลินในบริบทประเทศไทย เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้และเทคนิควิธีในการตรวจสอบความแม่นยำของการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง (self monitor blood glucose, SMBG) ระหว่างนักวิจัย

เนื่องด้วยโครงการวิจัยนี้ เป็นเรื่องใหม่ประกอบกับประเทศไทยมีเครื่อง blood glucose meter หลายรุ่นหลายยี่ห้อจึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักวิจัยที่จะหากระบวนการเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องมือ (ความถูกต้องแม่นยำ) กับราคา ความน่าสนใจของโครงการวิจัยนี้คือ นักวิจัยต้องร่าง protocol การสอบเทียบเครื่องขึ้นมาเพื่อทดสอบความถูกต้องแม่นยำของเครื่อง โดยเขียนตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลคือ ISO15197 และทำการสอบเทียบ (ทดสอบความถูกต้องแม่นยำ) ตาม protocol ที่ร่างขึ้นนี้ที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO15189 เพื่อให้ได้ข้อมูลต้นทุนใส่ใน model ของโครงการวิจัย

ภญ.ปรียานุช ดีบุกคำ นักวิจัยหลักของโครงการ  ได้บรรยายว่าการทดสอบเครื่องมือแพทย์โดยทั่วไปจะมีหลักการเหมือนกันคือทดสอบความถูกต้องแม่นยำ แต่การแปลผลจะใช้วิธีแตกต่างกันตามมาตรฐานสากลของเครื่องมือนั้นๆ เช่น ในกรณีเครื่อง blood glucose meter มีมาตรฐานของคือ ISO15197 การทดสอบความถูกต้องหรือ accuracy จะแปลผลจาก error grid analysis และ bland altman analysis ส่วนความแม่นยำจะคล้ายกันคือทดสอบความแม่นยำทั้งในวันเดียวกันและคนละวัน จากนั้นพิจารณาว่าเข้าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ของ ISO15197 หรือไม่

ทั้งนี้ตามเกณฑ์มาตรฐานเครื่องตรวจน้ำตาล ISO15197 ระบุว่าการประเมินความถูกต้องจะต้องประเมินในกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 100 คน ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงใช้ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คนต่อมิเตอร์ โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและยินดีเข้าร่วมโครงการภายหลังได้รับฟังการชี้แจงและลงลายมือชื่อยินยอมในเอกสารให้ความยินยอมแล้วจะถูกสุ่ม (randomized) ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้เทคนิค permuted block

สำหรับโครงการวิจัยนี้มีบริษัทให้ความร่วมมือเสนอราคา 6 บริษัท มีเครื่องทั้งหมด 9 รุ่น ผ่าน Accuracy และ Precision ในวันเดียวกันทุกรุ่น ส่วน Precision ในวันเดียวกันผ่านเพียง 3 รุ่น ดังนั้นราคาที่นำมาพิจารณาในโมเดลคือราคาที่ถูกที่สุดของ 3 รุ่นนี้ เพราะผ่านทุกเกณฑ์ แต่ทั้งนี้ผลดังกล่าวยังเป็นที่ถกเถียงระหว่างนักวิจัยในโครงการเนื่องจาก Precision ที่ได้นั้นเกิดจากการทดสอบกับอาสาสมัครโดยนักเทคนิคการแพทย์หลายคน ซึ่งอาจนำมาสู่ความคลาดเคลื่อนของผลการศึกษาได้

11 ตุลาคม 2556

Next post > การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข Health Economic Evaluation ครั้งที่ 9

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญโครงการการประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดด้วยระบบนำวิถีในผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมองและเส้นเลือดในสมองผิดปกติ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด