“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

วันที่ 16 สิงหาคม 2556 ประชุมผู้เชี่ยวชาญโครงการการประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดด้วยระบบนำวิถีในผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมองและเส้นเลือดในสมองผิดปกติ
ภญ.ธนพร บุษบาวไล นักวิจัย HITAP นำเสนอเกี่ยวกับโครงการวิจัยต่อผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ราชวิทยาลัยประสาทและศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย และคณะวิจัย
การประชุมครั้งจัดขึ้นเพื่ออภิปรายและขอข้อเสนอแนะในการกำหนดขอบเขตและแนวทางในการทำวิจัย โดยมีประเด็น ประสิทธิภาพของการผ่าตัดเนื้องอกในสมองด้วยระบบนำวิถีไม่ได้สัมพันธ์กับปริมาณก้อนเนื้องอกที่เหลือหรือที่ผ่าตัดออกมาได้ การผ่าตัดด้วยระบบนำวิถีสามารถใช้ได้กับข้อบ่งใช้อื่นด้วยนอกเหนือจากการผ่าตัดสมองได้ การพิจารณาต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง วิธีการจ่ายเงิน โดยให้พิจารณาไปที่ระบบให้รหัสกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnostic Related Group, DRG) ซึ่งยังไม่ครอบคลุม learning curve ของแพทย์ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัด รวมถึงต้นทุนในส่วนนี้ ซึ่งคณะวิจัยได้เสนอในการทำวิจัย 2 ขั้นตอน คือ การทำ extensive review จาก guideline และ คำนวณหาต้นทุนและจุดคุ้มทุนในการใช้เครื่องนำวิถี ภายใต้ข้อบ่งใช้ที่เหมาะสม
ดาวน์โหลดรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ได้ที่: https://hitap.net/research/13024