logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมผู้เชี่ยวชาญการประเมินความคุ้มค่าของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน

วันที่ 14 สิงหาคม 2556 ประชุมผู้เชี่ยวชาญการประเมินความคุ้มค่าของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน

ภญ.ปรียานุช ดีบุกคำ นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นของงานวิจัยเรื่องการประเมินความคุ้มค่ำของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และขอข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ร่วมประชุมได้แก่ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมต่อไท่อ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ ตัวแทนผู้ป่วย และตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรม

ประเด็นสำคัญในที่ประชุมได้แก่ คณะวิจัยนี้ได้นำเสนอผลการวิจัยเบื้องต้น ซึ่งสรุปผลการวิจัยได้ว่าการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (Self-monitoring blood glucose หรือ SMBG) มีความคุ้มค่าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ฉีดอินซูลินแต่ไม่มีความคุ้มค่าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลิน ที่เกณฑ์ความเต็มใจจ่าย 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ และการสนับสนุนให้ SMBG บรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ทั้งประเทศ จะเกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1,100 ล้านบาท (ทั้งนี้ในแบบจำลองใช้แถบตรวจวัดระดับน้ำตาลและเข็มเจาะปลายนิ้ว 3 ชิ้นต่อวัน และใช้ราคาที่ต่ำที่สุดของเครื่องที่ผ่านการประเมินความถูกต้องแม่นยำตาม ISO15197:2003) ซึ่งได้รับข้อเสนอแนะจากที่ประชุมในประเด็นต่อไปนี้ ตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลอง ความน่าจะเป็นในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ความน่าจะเป็นในการเกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลิน และประเด็นอื่นๆ ได้แก่ ควรทำการศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน โดยเฉพาะภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ร่วมด้วย

หลังจากการประชุมคณะวิจัยจะทำการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของที่ประชุม และจะนำเสนอ Policy brief ให้แก่ผู้กำหนดนโยบายในทุกสิทธิการรักษาต่อไป

ดาวน์โหลดรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ได้ที่: https://hitap.net/research/10853

11 ตุลาคม 2556

Next post > ประชุมผู้เชี่ยวชาญ โครงการการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาตร์ของกระบวนการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของทารกกลุ่มอาการดาวน์และทารกที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างของโครโมโซม

< Previous post ประชุมเพื่อการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Think Tank) ครั้งที่ 4

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด