logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

 การใช้ยาเพื่อบรรเทาความป่วยไข้สำหรับคนแต่ละวัยนั้นไม่เหมือนกัน ยางบางชนิดเหมาะสำหรับผู้ใหญ่ แต่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก ด้วยเหตุนั้น ก่อนให้ยาสำหรับลูกน้อย จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบอย่างไรบ้าง 

 เภสัชกรหญิง ฤดีรัมภา ตันนามัย เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเด็ก กล่าวว่า ยาแก้ปวดลดไข้ทั่วไป มีอยู่ด้วยกันสามชนิด ชนิดแรกที่รู้จักกันดี ก็คือ พาราเซตามอล อีกตัวที่ชอบใช้กันก็คือแอสไพริน ส่วนตัวสุดท้ายก็คือไอบิวโพรเฟ่น

       
       “ พาราเซตามอล นั้นปลอดภัยที่สุด ส่วนอีกสองตัวนั้นไม่แนะนำในเด็ก เพราะว่ามีผลทำให้เกร็ดเลือดไม่ค่อยแข็งตัว เลือดไหลง่าย อย่างเช่นแอสไพริน หมอจะไม่แนะนำเลยสำหรับผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออก และขณะที่เราอาจจะยังไม่รู้ว่าเป็นไข้เลือดออกหรือเปล่า เราก็แนะนำให้เลี่ยงไปก่อนเลย สำหรับเด็ก ส่วนไอบิวโพรเฟ่น อาจจะใช้ได้ในภาวะที่มีไข้สูง เพราะว่ามันค่อนข้างออกฤทธิ์เร็วกว่าพาราเซตามอล 
       
       เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน ต้องระมัดระวังในการใช้ยาลดไข้ เพราะอาจมีผลเสียต่อตับได้ ควรใช้การเช็ดตัวลดไข้เป็นหลัก และใช้ยาลดไข้พาราเซตามอล ถือเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูงในเด็ก มีให้เลือกใช้ 3 ชนิดคือ ชนิดหยดสำหรับเด็กเล็กๆ และเด็กที่กินยายาก (ขนาด 1 ซีซีต่อน้ำหนักตัว 10 กก.)
       
        หลักการทานยาสำหรับเด็ก จากข้อมูลของโรงพยาบาลเด็ก มีการให้คำแนะนำไว้ ดังต่อไปนี้ คือ ชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็กเล็ก (ขนาด 1 ช้อนชาหรือ 5 ซีซีต่อน้ำหนักตัว 10 กก.) และชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็กโต (ขนาด 1 ช้อนชาต่อน้ำหนักตัว 20 กก.) แนะนำให้ใช้ทุก 4-6 ชั่วโมงเวลามีไข้ 
       
       สำหรับยาลดไข้ไอบูโปรเฟนที่หลายคนเรียกว่า ยาลดไข้สูง มักช่วยให้ลดไข้ได้ดีกว่ายาพาราเซตามอล แนะนำให้ใช้เป็นยาเสริมเพิ่มเติมเมื่อใช้ยาพาราเซตามอลแล้วไข้ไม่ลดลงหรือ ไข้ขึ้นอีก แต่ยังไม่ถึงเวลาจะให้ยาพาราเซตามอลในมื้อถัดไป
       
        อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กมีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ เนื่องจากร่างกายยังสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่สูงเพียงพอในการป้องกันโรค คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปยังสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรหมั่นล้างมือและใช้หน้ากากอนามัยปิดปากปิดจมูกเวลาพาเด็กไปในที่ชุมชน หรือเวลาเจ็บป่วย 
       
       ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ 

5 มิถุนายน 2557

Next post > ผู้เชี่ยวชาญร่วมถกปัญหา พัฒนาระบบป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน

< Previous post HITAP เข้าร่วมเทศกาลหนังขายยาครั้งที่ 3 : OFF LABEL ร่วมเสวนาในหัวข้อ‘ความจริงเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยาข้ามชาติ ธุรกิจที่ไม่รู้จัก’ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด