logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

         วันนี้ (3 ต.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่โรงแรม เดอะ สุโกศล ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) นำเสนอผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนานโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กและเยาวชน อายุ 6-25 ปี ในประเทศไทย ว่า จากการทบทวนปัญหาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจาก 17 หน่วยงาน เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นต้น มาร่วมจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาวะในเด็กและเยาวชน พบว่า ปัญหาสำคัญ 3 ลำดับแรกคือ 1.การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การเปลี่ยนหลายคู่นอน และขาดความรู้เรื่องการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง ที่น่าสนใจคือต้นทุนที่เกิดจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีข้อมูลจากสหรัฐอเมริกา พบว่า ต้องใช้ต้นทุนมากถึง 3,088 ล้านบาทต่อปี
       
        ปัญหาการดำเนินงานในเรื่องนี้คือ แม้ทุกฝ่ายจะเห็นความสำคัญ แต่ยังมีลักษณะการทำงานแบบเหวี่ยงแห เมื่อดูจากอัตราการคลอดบุตรของผู้หญิงไทยอายุ 15-17 ปี ที่มีอัตราเกิน 50 ต่อ 1,000 ประชากร พบว่า มีเพียง 5 จังหวัดเท่านั้น โดยจังหวัดที่มีอัตราการคลอดบุตรสูงที่สุดคือ ประจวบคีรีขันธ์และนครนายก การแก้ปัญหาจึงควรเร่งดำเนินการในพื้นที่ที่มีปัญหามากก่อน” ภญ.ปฤษฐพร กล่าว
       
        ภญ.ปฤษฐพร กล่าวอีกว่า สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายคือ ต้องพัฒนาฐานข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพราะปัจจุบันมีเพียงฐานข้อมูลจากการคลอดบุตรเท่านั้น ศธ.ต้องพัฒนาหลักสูตรเพศศึกษาให้ทันสมัย พร้อมพัฒนาทักษะผู้สอน ส่วน สธ.ต้องพัฒนางานด้านอนามัยเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น และร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พัฒนาระบบการเข้าถึงถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดและบริการให้คำปรึกษาที่ปกป้องตัวตนของผู้รับบริการ เช่น การรับบริการถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดฟรี เป็นต้น
       
        ภญ.ปฤษฐพร กล่าวด้วยว่า 2.ความรุนแรง พบว่า จำนวนคดีทำร้ายร่างกายของเด็กที่ถูกส่งเข้าสถานพินิจจากการชกต่อยหรือตบตีกันของนักเรียนทั้งในสถานศึกษาและในชุมชนมีสูงถึง 4,086 คดีต่อปี ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการใช้สารเสพติด โดยข้อเสนอเชิงนโยบายคือ กระทรวงพัฒนาสังคมและะความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ควรพัฒนาระบบการเยียวยาเหยื่อความรุนแรง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ควรสนับสนุนสื่อสร้างสรรค์ที่สะท้อนปัญหา พร้อมแทรกแง่คิดในการปฏิบัติตัว และควรมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเหยื่อความรุนแรงระหว่างสถานพยาบาลและหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้สามารถแจ้งเตือนเมื่อเกิดกรณีความรุนแรง
       
        ภญ.ปฤษฐพร กล่าวต่อไปว่า และ 3.ปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ การติดสารเสพติด การติดเกม โรคสมาธิสั้น ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิสติก พบว่า ปัญหาดังกล่าวล้วนมีผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงมาก โดยเฉพาะการติดเกมมีผลกระทบสูงถึง 30,000 ล้านบาท โดยพบว่า เด็ก 1 คนมีค่าใช้จ่ายในการเล่นเกม 1,106 บาทต่อเดือน ขณะที่การติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ หากสามารถป้องกันนักดื่มและนักสูบหน้าใหม่ได้ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 20,000-360,000 บาทต่อราย และ 80,000-160,000 บาทต่อรายตามลำดับ สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายคือ สถานพยาบาล สธ.และ สปสช.ต้องร่วมพัฒนาระบบบริการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดอย่างทั่วถึง ทุกฝ่ายร่วมผลักดันพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน รัฐบาลกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบปัญหาติดเกมในระดับชาติ พร้อมนิยามการติดเกมให้ชัดเจน รวมทั้งตั้งคลินิกเฉพาะผู้มีปัญหาการติดเกม และ ศธ.ร่วมกับ สธ.พัฒนาระบบคัดกรองโรคสมาธิสั้น ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิสติกในโรงเรียน และเชื่อมต่อการตรวจยืนยันผลในสถานพยาบาล

4 ตุลาคม 2556

Next post > HITAP จัดประชุม ร่วมระดมความเห็นแก้ปัญหาสุขภาวะเด็กและวัยรุ่น

< Previous post HITAP เชิญสื่อมวลชนที่สนใจ ร่วมงาน แถลงผลการศึกษาโครงการ “อนาคตไทย” เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กอายุ 6-25 ปี

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด