logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

            นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 20-21 กันยายน 2556
ตนพร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง สธ.จะเดินทางไปร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือสาธารณสุขไทย-เมียนมาร์ ณ เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในการประชุมครั้งนี้จะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ซึ่งเป็นระดับข้าราชการประจำระดับสูงเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการภายใต้บันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยู ว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เป็นปีแรก ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเพื่อให้การดูแลสุขภาพประชาชนได้ดียิ่งขึ้น และเพิ่มความเข้มแข็งระบบการควบคุมป้องกันโรคทั้ง 2 ประเทศในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย
       
       นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวว่า ประเทศไทยมีแนวพรมแดนติดกับเมียนมาร์ 10 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย ลงมาถึงจังหวัดระนอง เป็นระยะทาง 2,401 กิโลเมตร เป็นมิตรประเทศมีความร่วมมือด้านสาธารณสุขมาอย่างใกล้ชิด มาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ขณะนี้ไทยประสบปัญหาขาดแคลนวัยแรงงานต้องนำเข้าต่างด้าวเข้ามาทำงานจำนวนมาก ซึ่งมากที่สุดคือเมียนมาร์ ทั้งนี้ ในการจัดระบบการดูแลเพื่อให้ต่างด้าวทุกคนเข้าถึงบริการการแพทย์และสาธารณสุขระหว่างที่อยู่ในประเทศไทยอันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันควบคุมโรคติดต่อลดความเสี่ยงให้ประชาชนไทย รัฐบาลไทยมีนโยบายให้แรงงานต่างด้าวและครอบครัวทุกคนต้องผ่านการตรวจสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุขและให้มีหลักประกันสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ สิทธิประกันสังคม หรือบัตรประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวง ให้ต่างด้าวทุกคนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ที่มี 3 กลุ่ม ให้ซื้อหลักประกันสุขภาพซึ่งมีราคาถูกที่สุดในโลกได้เปิดขายบัตรตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2556 เป็นต้นมา ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ก็จะมีการหารือในหลักการเรื่องการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เมียนมาร์ด้วย

ด้านนายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า บัตรประกันสุขภาพ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมและรอเข้าสู่ระบบการประกันสังคมกำหนดซื้อในอัตราคนละ 1,150 บาท ประกอบด้วย ค่าตรวจ 600 บาท และค่าประกันสุขภาพ จำนวน 550 บาท มีอายุคุ้มครอง 90 วันหลังจากนั้นก็จะอยู่ในความดูแลของระบบประกันสังคม 2.กลุ่มคนต่างด้าวทั่วไปที่ใช้แรงงานและไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม เช่น รับจ้างทำงานภาคเกษตร ประมง ก่อสร้าง หรือติดตามครอบครัว อัตราคนละ 2,800 บาท ประกอบด้วยค่าตรวจสุขภาพ 600 บาท และค่าประกันสุขภาพ 2,200 บาท มีอายุคุ้มครอง 1 ปี และ 3.กลุ่มเด็กอายุไม่เกิน 7 ปีบริบูรณ์อัตราคนละ 365 บาท มีอายุคุ้มครอง 1 ปี นับจากวันที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพ

       
       นายแพทย์ชาญวิทย์ กล่าวต่อว่า ในการตรวจสุขภาพต่างด้าวได้กำหนดมาตรฐานตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่กำหนดได้แก่ เอกซเรย์ปอด ตรวจเลือดหาเชื้อซิฟิลิส เชื้อพยาธิโรคเท้าช้าง ตรวจปัสสาวะหาสารแอมเฟตามีนและการตั้งครรภ์ ตรวจสภาวะโรคเรื้อน โดย สธ.ได้กำหนดควบคุมโรคในต่างด้าวรวม 5 โรค ได้แก่ วัณโรค โรคเท้าช้าง โรคเรื้อน โรคซิฟิลิส และโรคพยาธิในลำไส้ จะให้ต่างด้าวทุกคนกินยาฆ่าเชื้อพยาธิเท้าช้าง และยาฆ่าพยาธิในลำไส้ เพื่อควบคุมโรคในวันที่ตรวจสุขภาพและหากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าติดเชื้อก็จะติดตามให้ยารักษาจนหายขาด และจะให้ใบรับรองแพทย์แก่ต่างด้าว เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการอนุญาตทำงานมีอายุ 60 วัน
       
       สำหรับสิทธิประโยชน์ในการประกันสุขภาพในกลุ่มของผู้ใหญ่จะได้รับการดูแลด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
       การบริการทางการแพทย์ เช่น การตรวจรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพ คลอดบุตร ป่วยฉุกเฉิน ยาต้านไวรัสเอดส์ การรักษาพยาบาลโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ผ่าตัดสมอง เป็นต้น บริการทำฟัน เช่น ถอนฟัน ขูดหินปูน ส่วนสิทธิประโยชน์ในกลุ่มของเด็กอายุไม่เกิน 7 ปีบริบูรณ์ จะได้รับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น ฉีดวัคซีนขั้นพื้นฐาน บริการทางการแพทย์ การรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง บริการยาต้านไวรัสเอดส์ ในกรณีที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ ทั้งแม่และเด็กจะมีบัตรสุขภาพแม่และเด็กเพื่อติดตามสุขภาพอนามัย พัฒนาการ จนเด็กอายุ 5 ขวบ
       
       ทั้งนี้ ชุดสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่ไม่คุ้มครองในแรงงานต่างด้าว ได้แก่ โรคจิต การบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด การรักษาภาวะมีบุตรยากอุบัติเหตุจากรถที่ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ การผสมเทียมการผ่าตัดแปลงเพศ การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์การตรวจวินิจฉัยและการรักษาใดๆ ที่เกินจำเป็น และข้อบ่งชี้ทางการแพทย์การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมการเปลี่ยนอวัยวะ การทำฟันปลอม

19 กันยายน 2556

Next post > Hitap จัดปาฐกถาเรื่อง the Value for a QALY in Asia: Results and potential use in policy decision making

< Previous post ประชุม Think Tank ครั้งที่ 5 เวทีเสนองานวิจัยเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด