logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

 สปสช.ฟุ้งบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กลุ่มเสี่ยงได้แล้วกว่า 2.2 ล้านรายใน 15 สัปดาห์ หวังลดสถิติคนไทยป่วยไข้หวัดใหญ่ปีละกว่า 9 แสนราย ตายอย่างน้อยปีละ 150 ราย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เชิญประชาชนกลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลจนถึง 30 ก.ย.นี้
       
       นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ผลการดำเนินการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ประจำปี 2556 จำนวน 3,000,000 โดส งบประมาณกว่า 360 ล้านบาท ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษาฟรี พร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. – 30 ก.ย. 2556 ที่โรงพยาบาลภาครัฐ และเอกชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระยะเวลา 15 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. – 6 ก.ย.สามารถให้บริการได้ทั้งสิ้น 2,229,104 คน คิดเป็นร้อยละ 74.30 ของวัคซีนที่จัดหาสำหรับประชาชน 3,000,000 โดส ดังนี้ 1.กลุ่มเป้าหมายที่คณะกรรมการระบุ คือผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้น หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และเบาหวานจำนวน 1,911,125 คน
       
       นพ.วินัย กล่าวอีกว่า 2.กลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมที่กรมควบคุมโรคแนะนำ ได้แก่ หญิงมีครรภ์ ผู้พิการทางสมอง บุคคลอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี และผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ จำนวน 101,412 คน และ 3.ให้บริการสำหรับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อไข้หวัดนก และประชาชนที่เดินทางไปแสวงบุญ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จำนวน 216,567 คน
       
       นพ.วินัย กล่าวต่อว่า ในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 900,000 ราย เจ็บป่วยรุนแรงถึงขั้นปอดบวม 26,637 ราย และเสียชีวิตอย่างน้อยปีละ 150 ราย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงที่เมื่อป่วยแล้วจะมีอาการรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีโรคเรื้อรังและกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ การฉีดวัคซีนจึงเป็นมาตรการที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการป้องกันโรคล่วงหน้าที่จะช่วยลดการป่วยและการเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยงสูงดังกล่าว
       
       “ในช่วงระยะเวลาที่เหลือ จะสามารถให้บริการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ เพื่อลดการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะที่ภาครัฐก็ลดภาระการรักษาพยาบาลลงได้เช่นกัน ทั้งนี้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดในปีนี้ เป็นวัคซีนรวม 3 สายพันธุ์ คือ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A H1N1) ชนิดเอ เอช3เอ็น2 (A H3N2) และชนิดบี (B)” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
       
       ทั้งนี้ สปสช.ในฐานะผู้สนับสนุนด้านวัคซีนได้ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขให้สถานพยาบาลในสังกัดฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนด รวมถึงการประสานงานกับ อปท.ในการนำกลุ่มเป้าหมายไปรับวัคซีน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดที่สายด่วน สปสช.โทร.1330 กรมควบคุมโรค โทร.1422 และขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถไปขอรับบริการฉีดได้ที่โรงพยาบาลภาครัฐ และเอกชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จนถึง 30 ก.ย. สปสช.ฟุ้งบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กลุ่มเสี่ยงได้แล้วกว่า 2.2 ล้านรายใน 15 สัปดาห์ หวังลดสถิติคนไทยป่วยไข้หวัดใหญ่ปีละกว่า 9 แสนราย ตายอย่างน้อยปีละ 150 ราย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เชิญประชาชนกลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลจนถึง 30 ก.ย.นี้

       
       นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ผลการดำเนินการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ประจำปี 2556 จำนวน 3,000,000 โดส งบประมาณกว่า 360 ล้านบาท ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษาฟรี พร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. – 30 ก.ย. 2556 ที่โรงพยาบาลภาครัฐ และเอกชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระยะเวลา 15 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. – 6 ก.ย.สามารถให้บริการได้ทั้งสิ้น 2,229,104 คน คิดเป็นร้อยละ 74.30 ของวัคซีนที่จัดหาสำหรับประชาชน 3,000,000 โดส ดังนี้ 1.กลุ่มเป้าหมายที่คณะกรรมการระบุ คือผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้น หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และเบาหวานจำนวน 1,911,125 คน
       
       นพ.วินัย กล่าวอีกว่า 2.กลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมที่กรมควบคุมโรคแนะนำ ได้แก่ หญิงมีครรภ์ ผู้พิการทางสมอง บุคคลอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี และผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ จำนวน 101,412 คน และ 3.ให้บริการสำหรับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อไข้หวัดนก และประชาชนที่เดินทางไปแสวงบุญ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จำนวน 216,567 คน
       
       นพ.วินัย กล่าวต่อว่า ในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 900,000 ราย เจ็บป่วยรุนแรงถึงขั้นปอดบวม 26,637 ราย และเสียชีวิตอย่างน้อยปีละ 150 ราย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงที่เมื่อป่วยแล้วจะมีอาการรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีโรคเรื้อรังและกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ การฉีดวัคซีนจึงเป็นมาตรการที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการป้องกันโรคล่วงหน้าที่จะช่วยลดการป่วยและการเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยงสูงดังกล่าว
       
       “ในช่วงระยะเวลาที่เหลือ จะสามารถให้บริการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ เพื่อลดการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะที่ภาครัฐก็ลดภาระการรักษาพยาบาลลงได้เช่นกัน ทั้งนี้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดในปีนี้ เป็นวัคซีนรวม 3 สายพันธุ์ คือ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A H1N1) ชนิดเอ เอช3เอ็น2 (A H3N2) และชนิดบี (B)” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
       
       ทั้งนี้ สปสช.ในฐานะผู้สนับสนุนด้านวัคซีนได้ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขให้สถานพยาบาลในสังกัดฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนด รวมถึงการประสานงานกับ อปท.ในการนำกลุ่มเป้าหมายไปรับวัคซีน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดที่สายด่วน สปสช.โทร.1330 กรมควบคุมโรค โทร.1422 และขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถไปขอรับบริการฉีดได้ที่โรงพยาบาลภาครัฐ และเอกชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จนถึง 30 ก.ย.

10 กันยายน 2556

Next post > อภ.ขอโทษบรรจุยาผิดซอง เหตุยาคล้ายกันผลิตเวลาเดียวกัน

< Previous post สพศท.หนุน รพ.เอกชนช่วยกิจการ รพ.รัฐ เตรียมหาข้อสรุปสิ้น ก.ย.นี้

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด