logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

          นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวว่าจากกรณีที่มีข่าวการตรวจสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานและมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของการตรวจสุขภาพประจำปีว่า ปัจจุบันในหลายประเทศมีการทำมาตรฐานการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชน โดยมีรูปแบบของคณะกรรมการระดับชาติในการกำหนดทั้งเพื่อความปลอดภัยและความเท่าเทียม และติดตามผลกระทบ ซึ่งจากการติดตามศึกษาผลกระทบทำให้หลายประเทศเริ่มมีประกาศไม่ให้มีการตรวจในบางเรื่อง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากพบข้อมูลเปรียบเทียบว่า การผ่าตัดทำให้เกิดผลกระทบและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้มากกว่าและ ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตจากการรักษามากกว่า หรือผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ที่พบว่า การเอกซเรย์ปอดกับการทำซีทีสแกน สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งได้พอๆ กัน แต่ผู้ป่วยกลุ่มที่ทำซีทีสแกนเสียชีวิตมากกว่า เป็นต้น

          นพ.ยศกล่าวต่อว่า ปัจจุบันปริมาณการตรวจสุขภาพของคนไทยเพิ่มขึ้นมาก โดยประชาชนเสียเงินเพื่อตรวจสุขภาพเอง ในปี 2552 อยู่ที่ประมาณ 1,500 ล้านบาท เทียบกับปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็น 2,200 ล้านบาท ทั้งนี้จากการทำวิจัยเรื่อง การตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย พบว่า การตรวจสุขภาพหรือการคัดกรองสุขภาพที่ไม่รวมการตรวจสุขภาพที่ไม่เกี่ยวกับการยืนยันโรค หรือเพื่อรักษาโรคนั้น ควรหลีกเลี่ยงการคัดกรองแบบเหวี่ยงแห ตรวจแบบไร้จุดเป้าหมาย เพราะมีโทษมากกว่าประโยชน์ และสามารถก่ออันตรายต่ออวัยวะอื่น เช่น การเอกซเรย์ หรือการใช้เครื่องซีทีสแกน ซึ่งมีรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ 100 เท่า เป็นต้น และมีโอกาสจะเกิดผลบวกลวงขึ้น

          “การวิจัยดังกล่าวผ่านความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และราชวิทยาลัยต่างๆ จะเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปใช้ประกอบการทำงานเชิงนโยบายต่อไป โดยโปรแกรมการตรวจคัดกรองที่ HITAP เสนอจะมี 12 เรื่อง ซึ่งประชาชนควรรับทราบข้อดี ข้อเสียของการตรวจสุขภาพ เพื่อช่วยประหยัดงบประมาณด้วย” นพ.ยศกล่าว

26 สิงหาคม 2556

Next post > ฮือฮา! วิจัยพบ “บัวบก” ช่วยเพิ่มการเรียนรู้ออทิสติก

< Previous post แฉชุดตรวจสุขภาพแพงเวอร์ราคาจริง300แต่เอกชนโก่งถึง2พัน ชงสธ.บังคับใช้เกณฑ์มาตรฐาน

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด