“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

นพ.ยศ กล่าวว่า โปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับคนไทยในราคา380-400 บาท ได้แก่ 1.ตรวจเอชไอวี ตั้งแต่อายุ 13-50 ปี 2.ตรวจโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ ใช้วิธีตรวจไวรัสตับอักเสบบีและให้วัคซีนในผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน อายุ 31-40 ปี 3.ตรวจโลหิตจาง ให้ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดงในเด็กอายุ 9-12 เดือน 4.ภาวะทุพโภชนาการ ให้วัดดัชนีมวลกายเมื่ออายุ15 ปีขึ้นไป 5.โรคเบาหวาน เจาะระดับน้ำตาลในเลือดเมื่ออายุ30 ปีขึ้นไป
6.โรคหัวใจขาดเลือด ตรวจละเอียดในผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป นอกนั้นประเมินความเสี่ยงจากการวัดความดันโลหิต ระดับไขมัน ความยาวรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด และซักประวัติการสูบบุหรี่ 7.โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป คลำชีพจร หากผิดปกติให้ส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 8.โรคมะเร็งปากมดลูก ตรวจแปปสเมียร์ เมื่ออายุ30-60 ปี ทุก 5 ปีหรือเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์9.ปัญหาการดื่มสุรา หากอายุ 15-60 ปี และดื่มประจำควรตรวจพฤติกรรมเสี่ยงทุกปี และ 10.การป้องกันอุบัติเหตุจราจร อายุ 65 ปีขึ้นไป ให้วัดสายตาก่อนต่อใบขับขี่
นพ.ยศ กล่าวว่า สิทธิประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่ได้ครอบคลุมการตรวจสุขภาพ ทำให้คนไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง โดยเมื่อปี2554 พบว่าค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพอยู่ที่2,200 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2552 ถึง 700 ล้านบาท โดยหากบรรจุชุดตรวจสุขภาพลงในทุกสิทธิรักษาพยาบาลจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
นพ.ยศ กล่าวอีกว่า ชุดตรวจสุขภาพได้ผ่านการประเมินจากราชวิทยาลัยแพทย์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และภาคประชาชนเรียบร้อยแล้ว โดยจะนำผลวิจัยไปหารือกับสาธารณสุขเพื่อกำหนดนโยบาย
พญ.สายพิณ หัตถีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวว่า ชุดตรวจสุขภาพหลายชุดถูกใช้เกินความจำเป็น และสร้างความหวาดระแวงให้กับประชาชนมากเกินไป โดยสามารถสร้างความเครียดและวิตก เนื่องจากไปตรวจพบจุดที่ไม่อันตราย