logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

มะเร็ง คือมัจจุราช ไม่มีใครอยากแม้แต่จะคิดถึง เพราะอย่าว่าแต่เป็นแล้วต้องทนทุกข์ทรมาน หากแต่ปลายทางยังมีแต่ต้องตายสถานเดียว ที่ผ่านมา มีวิธีรักษาที่คิดกันว่าดีที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตาม ฟังทางนี้ นี่คือทางเลือกใหม่ที่อาจนำมาซึ่ง “ทางรอด” สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
       
       นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวณิช ผอ.ศูนย์วิจัย wincell research จำกัด ให้ความรู้ว่า แต่เดิมนั้น การรักษาโรคมะเร็ง แบ่งออกเป็นสายหลักๆ 3 แบบ คือ 1.การผ่าตัด 2.รังสีรักษา และ 3.เคมีบำบัด แต่เดี๋ยวนี้ การรักษาอีกวิธีหนึ่งซึ่งกำลังได้รับความสนใจมาก ก็คือ “ภูมิคุ้มกันบำบัด” (Immunotherapy)

“โดยหลักการ ระบบภูมิคุ้มกันเป็นด่านที่สำคัญที่สุดในเรื่องการป้องกันเราจากมะเร็ง เพราะในแต่ละวัน ร่างกายเราจะมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา เซลล์ในร่างกายคนเรา มีคนเคยนับ และได้จำนวนถึงหกสิบล้านล้านเซลล์ ซึ่งในแต่ละวัน เซลล์บางตัวก็จะต้องมีการเสื่อมหรือว่าจะต้องการการซ่อมแซม กระบวนการซ่อมแซม จะมีเป็นแสนครั้งในหนึ่งวัน เพราะฉะนั้น มันอาจจะมีครั้งที่เกิดความผิดพลาดในการซ่อมแซมได้ ซึ่งมันก็เป็นที่มาของเซลล์ที่จะเริ่มกลายพันธุ์หรือมีโอกาสที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งต่อไป”

นพ.โอฬาร กล่าวพร้อมเล่าต่อ “แต่ในร่างกายของเรา จะมีการป้องกันที่ดีพอ เช่น จะมีการสื่อสารระหว่างเซลล์เพื่อไปช่วยกันยับยั้งของเซลล์ที่ผิดปกติ รวมทั้งด่านสุดท้ายคือระบบภูมิคุ้มกันที่เรามีเซลล์ในการป้องกันถึงยี่สิบล้านล้านเซลล์ เพราะฉะนั้น เซลล์เหล่านี้จะทำหน้าที่เหมือนทหารว่าเซลล์มันมีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือเปล่า

       
       อย่างไรก็ดี อันที่จริงแล้ว ต้องยอมรับว่า เซลล์ภูมิคุ้มกัน มีความอ่อนไหวเพราะหลายๆ ปัจจัย เช่น อาหาร อากาศ การพักผ่อน การใช้ชีวิต สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันเราน้อยลงได้ทั้งนั้น
       
       “ขั้นตอนการรักษา ก็คือ หลังจากที่เราพบคนไข้ แล้วเราตรวจวัดระดับของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทั้งจำนวนและประสิทธิภาพ ถ้าพบว่ามีระดับที่ต่ำกว่าคนทั่วไป เราก็จะเข้าสู่กระบวนรักษา ซึ่งก็คือ เจาะเลือดคนไข้เพื่อตรวจ นำมาแยกเฉพาะเซลล์ภูมิคุ้มกันที่เราสนใจ เพื่อดูว่าเซลล์ตัวไหนที่มีความสามารถในการทำลายสูง และทำให้เราสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่มันแย่อยู่ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาได้ และเพิ่มจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันให้มีปริมาณที่มากพอ คือมากกว่าเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกาย เราจะใช้เวลาราวสองอาทิตย์ในการที่จะกระตุ้นเซลล์ดังกล่าว ทั้งเพิ่มจำนวนและเพิ่มประสิทธิภาพ พอครบสองอาทิตย์ เราจะนำเซลล์เหล่านั้นไปให้คนไข้ทางเส้นเลือดเหมือนให้น้ำเกลือ
       
       คำถามก็คือ แล้วเราจะเอาเซลล์ภูมิคุ้มกันพวกนี้มาจากไหน?
       
       นพ.โอฬาร กล่าวว่า “เราเอามาจากเลือดของผู้ป่วย และจุดนี้มันก็ขึ้นอยู่ภูมิคุ้มกันตั้งต้นของคนไข้ด้วย แต่โดยเฉลี่ย แต่ละครั้ง เราจะใช้ประมาณ 50 ซีซี แต่ในกรณีที่คนไข้มีจำนวนเยอะมากๆ แล้วไม่ได้อยู่ในภาวะซีด เราก็จะเก็บเลือดมากขึ้นได้เพื่อให้ได้ปริมาณเซลล์ที่สูงขึ้น ซึ่งเราก็ต้องปรับไปตามความเหมาะสม เราต้องใช้เลือดของคนไข้ เนื่องจากว่าเซลล์ภูมิคุ้มกันของคนไข้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไป”
       
       อย่างไรก็ดี นพ.โอฬาร ให้ข้อมูลว่า มันจะมีมะเร็งบางชนิดซึ่งไม่สามารถใช้เลือดได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดซึ่งจะมีความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว ซึ่งเม็ดเลือดขาวจะเปลี่ยนหน้าที่และทำให้ตัวของมันเองกลายเป็นมะเร็ง จึงจำเป็นต้องใช้เลือดของผู้บริจาคหรือญาติที่มีเลือดกรุ๊ปเลือดตรงกัน ประสิทธิภาพอาจจะดีกว่า แต่บางทีมันอาจจะทำให้เกิดโรคอื่นตามมา เช่น การทำลายเนื้อเยื่อของคนไข้ ซึ่งก็เป็นโรคที่อันตราย และเราก็ไม่อยากจะให้เสี่ยงอย่างนั้นได้เช่นกัน
        
       
       อย่างไรก็ดี ณ ตอนนี้ ต้องถือว่า ภูมิคุ้มกันบำบัด คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งได้
       
       ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo
       

15 สิงหาคม 2556

Next post > สธ.อัญเชิญพระราชานุสาวรีย์ “พระพี่นางฯ” ประดิษฐาน ณ ลานงู

< Previous post แดนกังหันพบสารตกค้างในข้าว "เมทิลโบรไมด์" มีผลต่อสมอง-ระบบสืบพันธุ์ เสี่ยงหมัน!

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด