logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

 

     วันนี้ (8 ส.ค.) นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี ให้สัมภาษณ์ภายหลังงานเสวนาเรื่อง “ความจริงเรื่องเมทิลโบรไมด์และโบรไมด์อิออน” ว่า ปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดในสารเมทิลโบรไมด์และโบรไมด์อิออนอยู่ การเสวนาในครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การวัดค่าเมทิลโบรไมด์และโบรไมด์อิออน ซึ่งการเสวนาพบว่าที่ผ่านมามีการวัดค่าที่ตรงกัน ผลของการวัดก็จะออกมาตรงกัน การที่บางหน่วยงานออกมาบอกว่ามูลนิธิชีววิถีและมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคแปรค่าผิดนั้น สุดท้ายพบแล้วว่ามีการวัดค่าที่ตรงกัน ซึ่งในอนาคตจะไม่เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอีก 2.เรื่องอันตรายของสารเมทิลโบรไมด์และโบรไมด์อิออน ซึ่งความจริงแล้วสารเหล่านี้ล้วนมีอันตราย แต่ต่างกันตรงที่เมทิลโบรไมด์มีอันตรายเฉียบพลันกว่า โดยเฉพาะผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดและในระยะยาว ซึ่งผลการศึกษาจาก รศ.แก้ว กังสดาลอำไพ สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล และ ผศ.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ที่ระบุว่าอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งกับผู้ที่สัมผัสโดยตรง แต่ในประชาชนทั่วไปคงต้องทำการศึกษาต่อไป
       
       นายวิฑูรย์ กล่าวอีกว่า 3.เรื่องการซาวและหุงข้าวแก้ปัญหาสารตกค้างได้หรือไม่ จากการทดสอบของ ก.เกษตรฯ พบว่า การซาวน้ำ 1 ครั้งสามารถทำให้สารลดลงเหลือร้อยละ 61 ซาวข้าว 2 ครั้งลดลงเหลือร้อยละ 41 แต่การทดลองไม่ได้รวมถึงการหุงข้าวด้วย จึงควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทำการทดสอบต่อไป และ 4.การกำหนดค่าความเป็นพิษสูงสุดที่ยอมรับให้บริโภคต่อวัน (ADI : Acceptable Daily Intake) ต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัมต่อวัน (mg/Bwkg) ซึ่งค่ากำหนดดังกล่าวไม่เหมาะสม ควรมีการปรับลดโดยให้เหลือเพียงค่าเอดีไอ 0.1 mg/Bwkg ทั้งนี้ จะทำหนังสือแจ้งไปยังมกอช.และอย.ต่อไป
       
       ด้าน ผศ.นพ.ปัตพงษ์ กล่าวว่า จากการทดลองในสัตว์ทดลองของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 90 วัน และมีการทดลองค่าสารเคมีในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยจากผลการทดลองเฉพาะบางอวัยวะพบว่า เมทิลโบรไมด์มีผลกระทบต่อสมอง ต่อมไร้ท่อ และระบบสืบพันธุ์ทั้งรังไข่และลูกอัณฑะ ทำให้อวัยวะดังกล่าวมีขนาดโตขึ้นและผิดรูป ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย อย่างรังไข่อาจส่งผลกระทบให้เป็นหมันได้

ที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000098536

9 สิงหาคม 2556

Next post > แผนรักษาเที่ยวล่าสุด “ภูมิคุ้มกันบำบัด” ทางรอดจากมะเร็ง!!/คอลัมน์ Health Line สายตรงสุขภาพ

< Previous post พบพัฒนาการเด็กล่าช้า กรมสุขภาพจิต ทำคู่มือแรกเกิด-5ปี แจกพ่อแม่

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด