logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

 

    วันนี้ (6 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่แพทยสภา ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงข่าวเรื่อง “การปนเปื้อนเชื้อโรคในนมผงเด็ก” จากกรณีทางการนิวซีแลนด์ประกาศเตือนประเทศต่างๆ รวมถึงไทยให้เฝ้าระวังนมและเวย์โปรตีนของบริษัท ฟอนเทียรา ที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ว่า เชื้อที่อยู่ในนมผงเด็กทารกคือเชื้อแบคทีเรียกลุ่มคลอสทรีเดียม (Clostridium) ซึ่งในต่างประเทศเคยมีรายงานผู้ป่วยโรคโบทูลิซึมในเด็ก (Infantile Botulism) ที่สงสัยว่าเกิดจากเชื้อโรคตัวนี้ที่ปนเปื้อนในนมผงเด็กทารก อาหารกระป๋อง และน้ำผึ้ง อย่างประเทศสหรัฐอเมริกาก็เคยมีทารกป่วยโรคนี้จากน้ำผึ้งปนเปื้อนกว่า 100 ราย ซึ่งเชื้อนี้จะเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท ส่งผลให้ทารกเป็นอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง และหายใจไม่ได้ จึงมีการประกาศห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีกินน้ำผึ้ง เป็นต้น สำหรับประเทศไทยผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนได้รับการเรียกคืนเมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่บางส่วนได้มีการจำหน่ายและนำไปรับประทานแล้ว แม้ขณะนี้จะยังไม่มีรายงานผู้ป่วยในประเทศไทย แต่ก็ต้องมีการเฝ้าระวัง เพราะหากเด็กมีอาการป่วยจะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที
       
       ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า เด็กที่รับเชื้อจะมีอาการภายใน 3-30 วัน เริ่มด้วยอาการท้องผูก คือไม่ถ่ายอุจจาระ 3 วันขึ้นไป ไม่ดูดนม แขนขาไม่มีแรง คอตกตั้งศีรษะไม่ขึ้น ม่านตาขยาย หนังตาตกร้องเสียงค่อย จนถึงไม่หายใจ โดยอาการจะเป็นมากขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการแบ่งตัวของเชื้อ เนื่องจากเชื้อในนมผงจะอยู่ในสภาพของสปอร์ ซึ่งทนต่อความร้อน และจะมีการแบ่งตัวต่อเมื่อมีน้ำ ดังนั้น กว่าเชื้อจะแบ่งตัวและเจริญเติบโตจนสร้างพิษในลำไส้ของเด็กทารก จึงใช้เวลาตั้งแต่ 3-30 วัน หากเกินระยะเวลาจากนี้ก็ไม่ถือว่าน่าห่วง แต่หากเด็กมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ เพราะเป็นโรคที่รักษาได้
       
       “สำหรับเด็กอายุเกิน 1 ปีหรือผู้ใหญ่ ซึ่งอาจกินผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเวย์โปรตีนปนเปื้อน ไม่น่าเป็นห่วง เพราะในลำไส้จะมีเชื้อแบคทีเรียเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว เชื้อที่กินเข้าไปจึงไม่สามารถแทรกเข้าไปเจริญเติบโตได้และถูกขับออกจนหมด ไม่เหมือนเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งในลำไส้ยังมีเชื้อแบคทีเรียไม่มาก เชื้อจึงเข้าไปเจริญเติบโตและสร้างพิษได้” ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ กล่าว
       
       ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การออกมาชี้แจงในครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการเตือนให้พ่อแม่เฝ้าสังเกตอาการของลูก หากมีอาการท้องผูก คอไม่ตั้ง แขนขาไม่มีแรง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที และเพื่อส่งสัญญาณถึงกุมารแพทย์ทุกคนให้รู้จักโรคโบทูลิซึมในเด็ก เพราะโรคนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย บางทีกุมารแพทย์อาจจะนึกไม่ถึงโรคนี้ ซึ่งล่าสุดได้ส่งอีเมล์แจ้งให้กุมารแพทย์ทุกคนทราบแล้ว
       
       ด้าน นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้จัดการแผนจัดการความปลอดภัยในเด็ก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ขอให้พ่อแม่สังเกตผลิตภัณฑ์นมผงว่าเป็นล็อตที่มีการปนเปื้อนตามที่ประกาศหรือไม่ หากไม่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลอะไร แต่หากเป็นล็อตที่มีปัญหาขอให้หยุดใช้ คืนผลิตภัณฑ์ และเฝ้าสังเกตอาการของลูก

 

ที่มา: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000097101
       

6 สิงหาคม 2556

Next post > ผู้ป่วยเฮ! ไม่ต้องรอผลตรวจเลือดนาน “ศิริราช” หันใช้ระบบส่งผ่านท่อลมถึงแล็บใน 1 นาที

< Previous post ส.ว.แนะใช้ กม.เครื่องมือแพทย์-สคบ.ควบคุมแพทย์ทางเลือก

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด