logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญการคัดกรอง-การประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะหรือความเสี่ยงต่อการเกิดทุพโภชนาการในโรงพยาบาล

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญ “การประเมินภาวะโภชนาการด้วยแบบคัดกรองเพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องว่างและความแตกต่างของการวินิจฉัยและการรักษาในไทยโดยแบบสอบถาม พัฒนาเครื่องมือการคัดกรองและการประเมินภาวะโภชนาการ และศึกษาประสิทธิภาพของการประเมินต่อผลการรักษา ซึ่งการประชุมครั้งนี้ รศ.ดร.รพ. กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์ และคณะ จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สรุปผลการศึกษาระยะที่ 1 ภายหลังจากมีการส่งแบบสอบถามและแบบการคัดกรองไปยังโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาทั่วไปและสถานฝึกอบรมทางการแพทย์ทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย ซึ่งแบบสอบถามจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ทำการคัดกรอง และกลุ่มที่ไม่ทำการคัดกรอง จากผลการตอบแบบสอบถาม พบเรื่องราวน่าสนใจมากมาย อาทิเช่น โรงพยาบาลที่มีการคัดกรองและประเมินฯมีเพียง 38% ที่เหลือ 62% ไม่มีการคัดกรองและประเมินฯ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นพยาบาล ถึงร้อยละ 72.6 ในขณะที่นักโภชนาการตอบแบบสอบถามเพียงร้อยละ 14.3 ซึ่งน่าจะสะท้อนให้เห็นว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยที่อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ มากกว่านักโภชนาการในโรงพยาบาล นอกจากนี้ ผลการตอบแบบสอบถามยังชี้ให้เห็นถึงวิธีปฏิบัติเมื่อมีผู้ป่วยทุพโภชนาการ พยาบาลทั้งในโรงพยาบาลที่ทำการคัดกรองฯ และไม่ทำการคัดกรองฯมากกว่า 70% เลือกที่จะรายงานแพทย์ ในขณะที่พยาบาลเลือกที่จะส่งต่อให้นักโภชนาการมีเพียง 50% ในโรงพยาบาลที่ทำการคัดกรองฯ 50% และ 30% ในโรงพยาบาลที่ไม่ทำการคัดกรองฯ เป็นต้น

 

และจากการศึกษาสรุปได้ว่าการคัดกรองและประเมินฯถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความร่วมมือสำหรับวิชาชีพต่างๆทั้งแพทย์ พยาบาล และนักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหาร ส่วนมาตรฐานหรือแบบคัดกรองและประเมินฯยังมีความหลากหลาย มีมีการกำหนดมาตรฐานชัดเจนและยังเป็นปัญหาทั้งในโรงพยาบาลที่มีและไม่มีการคัดกรอง ด้านทิศทางการศึกษาต่อไป จะเน้นแบบคัดกรองและประเมินที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก เหมาะกับวิชาชีพพยาบาลหรือนักโภชนาการฯ รรวมถึงการศึกษาเพื่อดูความคุ้มค่าของอาหารสูตรต่างๆในการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะสูตรอาหารที่มีราคาแพง หรืออาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น

7 มิถุนายน 2556

Next post > Slide presentation of a forum on Value for a QALY in Asia: Results and potential use in policy decision making

< Previous post HITAP ร่วม “สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่” กับ สสส.และภาคีเครือข่าย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด