logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP ระดมผู้เชี่ยวชาญร่วมวางโครงร่างงานวิจัยใหม่

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา HITAP นำโดย ดร.ยศ ตีระวัฒนานนท์ และนักวิจัยหลัก ภญ. เบญจรินทร์ สันตติวงศ์ไชย จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อร่วมวางโครงร่างงานวิจัยใหม่เรื่อง “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจติดตาม PT-INR ด้วยระบบ Point of Care เพื่อปรับยาและเฝ้าระวังยาในผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (วอร์ฟาริน)” วอร์ฟารินเป็นยาที่มีดัชนีการรักษาแคบ (narrow therapeutic index) และขนาดยาที่เหมาะสมยังแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน นอกจากนี้ แม้ในผู้ป่วยคนเดียวกัน ขนาดยาที่เหมาะสมยังเปลี่ยนแปลงได้เสมอเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับยาวอร์ฟารินในกระแสเลือด เช่น อาหารที่รับประทาน การออกกำลังกาย ยาที่ใช้ร่วม หรือโรคอื่นที่เป็นในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามผลการใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ โดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดค่า INR ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการแข็งตัวของเลือด การตรวจค่า INR ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการซึ่งเป็น gold standard และมีราคาถูก (60 บาทต่อครั้ง) ทว่าการตรวจเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการนี้ต้องใช้เวลาในการรอผลการตรวจนานถึงประมาณ 2 ชั่วโมง และไม่สามารถกระทำได้สถานพยาบาลที่มีขนาดเล็ก ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจวัดค่า INR ที่สะดวกและรวดเร็วกว่า นั่นคือ การตรวจวัดโดยใช้เครื่อง point of care (POC) ซึ่งเป็นเครื่องตรวจ INR ชนิดเจาะปลายนิ้วมือ การตรวจวัดสามารถกระทำได้ในสถานพยาบาลขนาดเล็ก รวมถึงที่อยู่อาศัยของผู้ป่วย จึงอาจช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการเดินทางให้แก่ผู้ป่วย และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยยินดีมารับการตรวจติดตามมากขึ้น

 

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าผ่านการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจวัดค่า INR โดยใช้เครื่อง POC เปรียบเทียบกับการตรวจวัดด้วยวิธีการทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงประเมินผลกระทบทางด้านงบประมาณในกรณีที่บรรจุการตรวจวัดด้วยเครื่อง POC เข้าในชุดสิทธิประโยชน์เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้

 

ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วยอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ เภสัชกรโรงพยาบาล และตัวแทนจากบริษัทยาและเครื่องมือแพทย์ มีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มากมาย เช่น เสนอให้เน้นศึกษาเฉพาะผลการใช้ยาวอร์ฟารินเพื่อป้องกันหัวใจสั่นพริ้วเพียงกรณีเดียวเท่านั้น

 

 

 

 

17 พฤษภาคม 2556

Next post > HITAP นำเสนอผลการประเมินความคุ้มค่ายารักษาโรคกระดูกพรุนในเวที Think Tank

< Previous post HITAP หารือผู้เชี่ยวชาญเรื่องมาตรการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด