logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP หารือผู้เชี่ยวชาญเรื่องมาตรการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “มาตรการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไป” เพื่อทบทวนประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในกลุ่มประชากรทั่วไปเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ณ ห้องประชุม HITAP ชั้น 6 ตึก 6 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ภญ. คัคนางค์ โตสงวน นักวิจัยหลัก รายงานผลการศึกษาประสิทธิผลของการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่คัดกรอง (144,258 ราย) และไม่คัดกรอง (175,386 ราย) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการลดอัตราการตายจากมะเร็งต่อมลูกหมากไม่ว่าจะพิจารณาทุกกลุ่มอายุหรือรายกลุ่มอายุก็ตาม นอกจากนี้ยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการลดอัตราการเสียชีวิตจากการตายทุกสาเหตุ นอกจากนี้จากผลการศึกษาต้นทุนอรรถประโยชน์ของการคัดกรอง พบว่าอัตราส่วนต้นทุนต่อประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental cost-effectiveness ratio, ICER)  มีค่าติดลบ ซึ่งหมายความว่า การคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธีการใดก็ตามทำให้ปีสุขภาวะแย่กว่าการไม่คัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากและมีค่าใช้จ่ายสูง ยิ่งไปกว่านั้น จากการรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่าการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ป่วย เช่น ภาวะเลือดออกผิดปกติ การติดเชื้อ ปัญหาการขับถ่าย และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หากตรวจพบและรักษาโดยไม่จำเป็น ดังนั้น แนวทางในประเทศไทยจึงไม่ควรทำการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในประชากรชายทั่วไป แต่หากผู้ป่วยต้องการตรวจ แพทย์ควรให้ข้อมูลทั้งข้อดีและข้อเสียของการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากก่อนการตัดสินใจ

17 พฤษภาคม 2556

Next post > HITAP ระดมผู้เชี่ยวชาญร่วมวางโครงร่างงานวิจัยใหม่

< Previous post คณะทำงานฯ เลือก 5 หัวข้อปัญหาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เพื่อนำไปประเมินเทคโนโลยี ก่อนเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจบรรจุเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด