logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ที่ประชุมความร่วมมือกสพท. – HITAP ย้ำ การประเมินเทคโนโลยีฯ สำคัญ บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับควรรู้

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2556 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) และ HITAP จัดประชุมสรุปผลโครงการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างเหมาะสมที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยา ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างเหมาะสมในสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำของประเทศ โครงการดังกล่าวดำเนินการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการจัดอบรมระยะสั้นเรื่องการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์สาธารณสุขสำหรับผู้บริหารและอาจารย์แพทย์ จนถึงการร่วมทำวิจัยประเมินความคุ้มค่าระหว่างอาจารย์แพทย์ 6 ท่าน โดย HITAP สนับสนุนด้านวิชาการ

ขณะนี้โครงการวิจัยร่วมทั้ง 6 โครงการเสร็จสิ้นแล้ว ภายหลังจากอาจารย์แพทย์ทั้ง 6 ท่าน ได้แก่ อ. นพ.อภิชาติ ตันตระวรศิลป์ พญ.กันยรัตน์ กตัญญู อ. พญ.วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ ผศ. พญ.ดลฤดี สองทิศ นพ. ศุภกานต์ เตชะพงศธร และ นพ. บุญยิ่ง ศิริบำรุงวงศ์ ได้นำเสนอผลการศึกษา ที่ประชุมได้ร่วมให้ความเห็นต่อโครงการการดำเนินงานในอนาคต

ที่ประชุมสรุปว่าการถ่ายทอดความรู้ด้านการประเมินฯ มีความสำคัญสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในทุกระดับ ตั้งแต่นักศึกษาแพทย์เพื่อให้ตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ในระดับอาจารย์แพทย์ เพื่อให้สามารถส่งผ่านความรู้ไปยังนักศึกษาได้ และระดับผู้บริหารเพื่อให้เห็นความสำคัญของการประเมินฯ และนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจเชิงนโยบาย

ดร. นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ กล่าวถึงทิศทางความร่วมมือระหว่าง HITAP และ กสพท. ในอนาคตว่า “HITAP พร้อมสนับสนุน ด้านวิชาการหากโรงเรียนแพทย์ต้องการทำการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ทั้งนี้อาจารย์แพทย์ทั้ง 6 ท่านที่มีประสบการณ์การทำงานวิจัยด้านการประเมินความคุ้มค่ามาแล้ว  จะเป็นกำลังสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่อาจารย์แพทย์รุ่นหลัง นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ที่มีความสนใจและมีศักยภาพในการทำวิจัยการประเมินความคุ้มค่าของยาเพื่อพิจารณาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติในอนาคต”

*****************************************************************************************************************************************************************************

งานวิจัย 6 ชิ้นภายใต้โครงการ โครงการความร่วมมือระหว่างกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่ง ประเทศไทย (กสพท.) และ HITAPเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างสมเหตุผล ได้แก่

1) การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการผ่าตัดเส้นเลือดขอดโดยใช้วิธีเลเซอร์คลื่นความถี่การฉีดสารระคายเคืองแบบโฟม เทียบกับ การผ่าตัดวิธีปกติในประเทศไทย นักวิจัยหลัก คือ นพ.บุญยิ่ง ศิริบำรุงวงศ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2) การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1B นักวิจัยหลักคือ พญ.กันยรัตน์ กตัญญู คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

3) การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลและต้นทุนอรรถประโยชน์ของการผ่าตัดรักษาผู้ ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบชนิดเป็นครั้งแรกและไม่มีภาวะแทรกซ้อนในประเทศไทย นักวิจัยหลัก คือ นพ.ศุภกานต์ เตชะพงศธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

4)  การประเมินต้นทุน-ประสิทธิผล และต้นทุน-อรรถประโยชน์ ของการคัดกรองเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชากรไทย นักวิจัยหลัก คือ พญ.วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

5) การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้เปรียบ เทียบกับการผ่าตัดตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกใน ประเทศไทย นักวิจัยหลัก คือ พญ.ดลฤดี สองทิศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

6) การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการผ่าตัดมะเร็งปอดด้วยอุปกรณ์ Parenchyma stapling เปรียบเทียบกับการผ่าตัดโดยการเย็บด้วยมือในประเทศไทย นักวิจัยหลัก คือ นพ.อภิชาติ ตันตระวรศิลป์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

26 มีนาคม 2556

Next post > ระดมสมองสร้างภาพอนาคตของระบบสุขภาพไทยในอีก 20 ปี ข้างหน้า

< Previous post HITAP นำทีมนักวิจัย สนับสนุนประเทศฟิลิปปินส์ทำการประเมินความคุ้มค่าของวัคซีน 2 ตัว

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด