logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

https://www.hitap.net
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: ข่าวสด

ฉบับวันที่: 16 พฤษภาคม 2016

อินโดฯ เตรียมล้างไตช่องท้องตามไทย ลดค่าใช้จ่ายมุ่งดูแลผู้ป่วยครอบคลุมทั่วประเทศ

อินโดนีเซีย เตรียมปรับระบบและใช้นโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเช่นเดียวกับไทย เพิ่มการเข้าถึงพร้อมลดค่าใช้จ่ายมุ่งดูแลผู้ป่วยครอบคลุมทั่วประเทศ

นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวว่า การดำเนินนโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเป็นทางเลือกแรก ที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ดำเนินการในขณะนี้ ถือว่ามาถูกทางแล้ว เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกลุ่มกำลังพัฒนาที่ดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่างให้ความสนใจหันมาใช้นโยบายนี้ ที่ผ่านมา HITAP ได้รับเชิญจากหน่วยงานที่ดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศอินโดนีเซียให้ร่วมประเมินเพื่อหาแนวทาง เนื่องจากที่ผ่านมาอินโดนีเซียเริ่มประสบปัญหาการดูแลผู้ป่วยไตแล้ว โดยมีปัญหาการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยไต รวมถึงงบประมาณในการดูแล

นพ.ยศ กล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน แม้ว่าจะดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาแล้ว 3-4 ปี แต่ยังไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด โดยมีประชากรที่อยู่ในระบบเพียงร้อยละ 60 เท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยไตในระบบทั้งหมด จึงเป็นเหตุให้อินโดนีเซียต้องทบทวนและหาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไตที่เหมาะสม

“จากที่ HITAP ได้สนับสนุนคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการประเมินเทคโนโลยีของรัฐบาลอินโดนีเซีย ประเมินทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายของโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าของอินโดนีเซีย มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ตอนนี้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้วว่าอินโดนีเซียต้องปรับระบบและใช้นโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเช่นเดียวกับไทย ซึ่งนอกจากเพิ่มการเข้าถึงของผู้ป่วยไตแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายดูแลผู้ป่วยไตในระบบได้ โดยผู้บริหารระดับสูงของอินโดนีเซียให้ความสนใจและต้องการเริ่มโครงการนำร่องตามแนวทางใหม่นี้ เพราะเป็นทางรอดเดียวของระบบ ไม่เช่นนั้นอินโดนีเซียจะต้องจัดตั้งศูนย์ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมากกว่า 14,000 แห่ง ใน 14,000 เกาะ ทั่วประเทศ” นพ.ยศ กล่าว

เอกสารดาวน์โหลด

16 พฤศจิกายน 2024Download
16 พฤษภาคม 2559

Next post > HITAP แจง “เลนส์แก้วตาเทียม” “สปสช” ช่วยผู้ถือบัตรทอง

< Previous post HITAP จัดประชุม การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และผลกระทบด้านงบประมาณของการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด