logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

HITAP  เชิญร่วมงาน แถลงผลการศึกษาโครงการ “อนาคตไทย” เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กอายุ 6-25 ปี

นักวิจัยร่วมถก 3 ปัญหาหลักคุกคามสุขภาพวัยว้าวุ่น

ท้องไม่พร้อม ความรุนแรง และสุขภาพจิตในเด็กโตและเยาวชน

วันพฤหัสที่ 3 ตุลาคม 2556 เวลา 09.00-12.00 น.

ณ ห้องดวงกมล ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล พญาไท กรุงเทพฯ

 

 ตัวเลขที่น่าตกใจของปัญหาสุขภาพวัยว้าวุ่น

  • ทุก ๆ 1 พันคนของวัยรุ่นหญิงไทย (อายุ 15-19 ปี) มีการจดทะเบียนเกิดทารก เพิ่มจาก 50 เป็น 52 ราย ในระหว่างปี 2549-2553 ทั้งนี้ไม่รวมจำนวนการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทั้งหมด และการแท้งผิดกฎหมาย[1]  และ3,088 พันล้านบาทต่อปี คือ มูลค่าทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยต้องสูญเสียไป จากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  • สามในสี่ของเด็กจำนวน 8,518 ราย ที่มารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้  เป็นผู้เด็กที่ได้รับผลจากปัญหาความรุนแรงทางเพศ โดยผู้กระทำความรุนแรงส่วนมากเป็นแฟนหรือเพื่อน[2]
  • 4,086 คือจำนวนคดีเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายของเด็กที่ถูกส่งเข้าสถานพินิจ จากปัญหาการชกต่อยหรือตบตีกันของนักเรียนทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน[3]
  • เด็กวัยรุ่นใช้เวลาครึ่งหนึ่งของเวลาตื่น (ประมาณ 8 ชั่วโมง) ไปกับสื่อ (การดูโทรทัศน์/ภาพยนตร์ การเล่นอินเตอร์เน็ตและการใช้โทรศัพท์) แต่ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง  พูดคุยกับผู้ปกครอง[4]
  • วัยรุ่นไทย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงร้อยละ 49 โดย นักดื่มอายุน้อยที่สุดของคืออายุ 6 ปี
  • จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2552 วัยรุ่นไทย สูบบุหรี่ร้อยละ 22 มี โดยกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นประมาณ 5 แสนคน จากการสำรวจระหว่างปี 2552 กับปี 2554
  • นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กและเยาวชน เสพกัญชามากถึงร้อยละ 8 รองลงมาคือยาบ้า และไอซ์ โดยเด็กอายุต่ำสุดที่เริ่มเสพยาบ้าอายุ 7 ปี
  • ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุ เด็กติดเกมเพิ่มขึ้น โดยระหว่างปี พ.ศ. 2549-2555 พบเด็กติดเกมถึง 1 ใน 8 ของเด็กไทยทั้งหมด ทั้งนี้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันว่าเด็กที่ติดเกมมีแนวโน้มใช้ความรุนแรง มีพฤติกรรมก้าวร้าว การติดเกมยังส่งผลเสียต่อการเข้าสังคมและมนุษย์สัมพันธ์ และผลทางสุขภาพด้วย[5]

ปัญหาเหล่านี้มีทางแก้หรือไม่ และอนาคตไทยจะยังสามารถฝากไว้กับวัยว้าวุ่นได้ไหม ร่วมรับฟัง “การประชุมเพื่อนำเสนอผลการศึกษาการพัฒนานโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กและเยาวชน (อายุ 6 – 25 ปี) และการศึกษามาตรการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับประเทศไทย” โดยการประชุมมีรายละเอียดดังนี้

08.30 – 09.00 น.            ลงทะเบียน (ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 1 ชั้น 2)

09.00 – 09.05 น.            กล่าวเปิดการประชุมโดย นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ

09.05 – 09.10 น.            แนะนำโครงการวิจัย ชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์  โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ

09.10  – 09.15 น.           นำเสนอที่มา วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษาของโครงการวิจัย โดย ภญ.พิศพรรณ วีระยิ่งยง โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ

09.15  – 09.30 น.           นำเสนอผลการทบทวนมาตรการ/นโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กและเยาวชน (อายุ ๖-๒๕ ปี) ในต่างประเทศ โดย ภญ.ณัฎฐิญา ค้าผล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

09.30  – 09.45 น.           อภิปรายและซักถาม

09.45  – 10.05 น.           นำเสนอผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนานโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กและเยาวชน (อายุ ๖-๒๕ ปี) ในประเทศไทย โดย ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ

10.25 – 11.25 น.            อภิปรายและซักถาม และสรุปผลการประชุม

11.25  – 11.40 น.           นำเสนอโครงร่างงานวิจัยการศึกษามาตรการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับประเทศไทย   โดย พญ.ภัทรวลัย ตลึงจิตร คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

11.40  – 12.10 น.           อภิปรายและซักถาม และสรุปผลแนวทางการศึกษามาตรการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับประเทศไทย

12.10  – 13.00 น.           รับประทานอาหารกลางวัน



[1] โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. การทบทวนสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย เพื่อใช้ประกอบการจัดทำ The State of Thailand Population Report (STPR 2013) on Adolescent Pregnancy. นนทบุรี 2556.

[2] สถิติจำนวนผู้มารับบริการในศูนย์พึ่งได้ ในปีพ.ศ. 2554

[3] จำนวนคดีและร้อยละคดีที่เด็กและเยาวชนถูกจับกุมส่งสถานพินิจฯทั่วประเทศ จำแนกตามฐานความผิด ปีพ.ศ. 2555

[4] รายงานและบทวิเคราะห์สภาวการณ์เด็กไทยในรอบปี 2553-2554

[5] การศึกษาหาปัจจัยป้องกันการติดเกมในเด็กและวัยรุ่น. รู้หรือไม่? เด็ก 8 คน จะมี 1 คน ที่ “ติดเกม. นนทบุรี: สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

ฝ่ายสื่อสารองค์กร โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ

ชั้น 6 อาคาร 6 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

โทร : 02-590-4549 หรือ 02-590-4374-5

มือถือ : 089-664-0037
โทรสาร : 02-590-4369
E-mail : [email protected]

2 ตุลาคม 2556

Next post > วัยโจ๋เสี่ยงปัญหาสุขภาพเพียบ “เซ็กซ์ ติดยา บ้าเกม” HITAP แนะให้ถุงยาง-ยาคุมฟรี

< Previous post ผลวิจัยชี้คุ้มทุนตรวจหายีนเสี่ยงแพ้ยาป้องอาการผื่น-อันตรายถึงตาบอด

Related Posts