logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

        ดร.เกษม นครเขตต์ ผู้จัดการแผนงานศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในการประชุมวิชาการ การส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2 : การเดินและจักรยาน ปฏิบัติได้ ปฏิบัติจริง ในบริบทไทย จัดโดย สสส.ว่า จากการวิจัยเรื่อง การรับรู้ด้านสุขภาพและทัศนคติของประชาชนไทยต่อการเดินและการขี่จักรยาน เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความรุนแรงของโรค ประโยชน์ของการเดิน การขี่จักรยานสามารถป้องกันการเกิดโรค การรับรู้อุปสรรคของการเดิน การขี่จักรยาน และทัศนคติของประชาชนต่อการเดินในระยะใกล้ด้วยการเดิน การขี่จักรยาน โดยสำรวจประชาชนใน 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่ นครราชสมา ชลบุรี ภูเก็ต และ กทม.​จำนวน 5,000 คน
       
        ดร.เกษม กล่าวว่า ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกกว่าร้อยละ 70 จาก กทม.และชลบุรี รับรู้ว่าตนเองเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง นอกนั้นมีเพียงครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างที่รับรู้ว่าตนเองเสี่ยง โดยกลุ่มตัวอย่างจากทุกจังหวัดที่สำรวจ ร้อยละ 63-94 รับรู้ความรุนแรงของโรคเรื้อรังว่าอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ โดยกลุ่มตัวอย่างจากทุกจังหวัด ร้อยละ 71-95 ทราบประโยชน์ของการเดินหรือขี่จักรยาน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 24 เชื่อว่าตนเองสามารถเดินได้ในระยะทาง 1-1.5 กิโลเมตร ร้อยละ 45 เชื่อว่าสามารถขี่จักรยานได้ในระยะทาง 2-3 กิโลเมตร ร้อยละ 81 ยินดีสวมหมวกกันน็อกขณะขี่จักรยาน และร้อยละ 45 ยินดีซื้อหมวกกันน็อกที่ได้มาตรฐานในราคา 500 บาท 
       
        ดร.เกษม กล่าวว่า เมื่อสำรวจด้านทัศนคติแง่อุปสรรค พบว่า ร้อยละ 81 บอกว่าอุปสรรคคือการไม่มีเวลา รองลงมาร้อยละ 67 และ 63 ชี้ว่าอุปสรรคคือไม่มีอุปกรณ์​และไม่มีเส้นทางที่ปลอดภัย เมื่อถามถึง เส้นทางขี่จักรยาน ร้อยละ 45 มีทัศนคติระดับดีต่อเส้นทางที่มี ร้อยละ 60-75 เห็นว่า การขี่จักรยาน การเดินบนเส้นทางรถยนต์ยังเป็นการกีดขวางการจราจร และอาจเกิดอุบัติเหตุ โดยสรุปเห็นได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคติดต่อเรื้อรัง และทราบว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์แง่ป้องกันโรค แต่ยังมีอุปสรรคในเรื่องเวลา และความปลอดภัยในการออกกำลังที่ต้องใช้ทางร่วมกับรถยนต์ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

5 มีนาคม 2557

Next post > สธ.จี้คุมเข้มมาตรฐานคลอรีนน้ำประปา ชี้หน้าร้อนจุลินทรีย์เติบโตเร็ว

< Previous post รับสมัครผู้ช่วยวิจัย (พนักงานสัมภาษณ์) 3 อัตรา โครงการวิจัย "การประเมินความปลอดภัยและประสิทธิผลของการฉีด bevacizumab และ ranibizumab เข้าวุ้นตาในการรักษาผู้ป่วยโรคจอตา: การศึกษาเชิงสังเกต"

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด