logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/32239

 
สธ.ดึงสุขบัญญัติ 10 ประการ เป็นคัมภีร์ป้องกัน ลดเจ็บป่วยคนไทย ขยายผลใช้ในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ และใช้มาตรการการให้สุขศึกษาในโรงพยาบาลทุกระดับปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพดีแก่ประชาชน เผยผลสำรวจสภาวะสุขภาพคนไทยล่าสุดในปี 2552 พบป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 10.8 ล้านคน ส่วนในปี 2554 มีคนไทยป่วยแต่ไม่ต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล 19.8 ล้านคน
 
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์การเจ็บป่วยของประชาชนไทยอยู่ในเกณฑ์น่าห่วง สาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ แบบแผนใหม่ของการบริโภค ขาดการออกกำลังกาย ความเครียดสูงขึ้น ผลสำรวจสภาวะสุขภาพคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไปในปี 2551-2552 พบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุดถึง 10.8 ล้านคน ป่วยเป็นเบาหวาน 3 ล้านคน
 
ขณะเดียวกันผลสำรวจอนามัยของประชากรไทยโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ล่าสุดในปี 2554 พบว่า มีผู้เจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 19.8 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 29 ของประชากร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่มีจำนวนร้อยละ 28 ของประชากร
 
“การป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพคนไทย มีนโยบายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สนับสนุนให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับใช้กระบวนการสุขศึกษา ให้ความรู้ประชาชนทั้งที่ป่วยและไม่ป่วย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง และนำสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ซึ่งเป็นพฤติกรรมสุขภาพขั้นพื้นฐานที่พึงประสงค์ใช้มานาน ยังมีความทันสมัย นำไปใช้ในกลุ่มประชาชนทั่วไปและเด็กนักเรียนในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ เพื่อปลูกฝังความรู้และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพอนามัยตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก นำไปสู่การปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย เด็กที่ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ จะสร้างให้เกิดภูมิต้านทานโรคมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย มีสมรรถภาพในการเรียน การทำกิจกรรมต่างๆ มีสุขภาพดี ทั้งร่างกายและจิตใจ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข”รมช.สาธารณสุข กล่าว
 
ด้าน น.ต.นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ขณะนี้ มีโรงพยาบาลผ่านการรับรองมาตรฐานงานสุขศึกษาแล้ว 2,021 แห่ง เป็นโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 53 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 225 แห่ง และรพ.สต. 1,743 แห่ง ภายในปี 2559 จะพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานงานสุขศึกษาครบทุกแห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ขณะนี้ได้จัดทำมาตรฐานงานสุขศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพประชาชนในโรงพยาบาลทุกระดับแล้ว
 
อนึ่ง สุขบัญญัติ 10 ประการ ประกอบด้วย 1.ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด 2.รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี 3.ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย 4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด 5.งดสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ 6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น 7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท 8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี 9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอและ10.มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคม เช่น ทิ้งขยะในถังขยะ เป็นต้น
24 ธันวาคม 2555

Next post > กระทรวงสารณสุข เร่งศึกษาหาข้อมูลอันตรายจากแร่ใยหิน

< Previous post "ยูเอ็น" ขอทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทย"ต้นแบบ"

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด