“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

คณะวิจัยการประเมินความคุ้มค่ายา tiotropium เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก นำเสนอรายงานฉบับแก้ไขหลังจากได้รับข้อเสนอจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) คณะวิจัยเรื่องการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของ Tiotropium Bromide Monohydrate เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD) ที่มีระดับความรุนแรงของโรคตั้งแต่ระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก โดยงานวิจัยดังกล่าวเป็นงานวิจัย ภายใต้คณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ วาระ 2556-2558 การประชุมครั้งนี้เป็นการพิจารณาสืบเนื่องมีจุดประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วย ผลกระทบงบประมาณและข้อบ่งใช้ของยา tiotropium หากมีการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อให้ผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมี นพ. ธนะวัตน์ วงศ์ผัน นักวิจัยจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ นำเสนอผลงานวิจัยที่ปรับแก้จากการประชุมครั้งที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 โดยผ่านการทบทวนคุณภาพและค่า parameter ต่าง ๆ ภายหลังการนำเสนอ ที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงสถานการณ์จำลอง (Scenario) เพื่อคำนวณผลกระทบงบประมาณให้สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น ก่อนจะนำเสนอให้คณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขในวาระ 2559-2561 พิจารณาต่อไป
ติดตามรายงานการประชุมได้ที่ https://www.hitap.net/research/165526