logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99-%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A

 

นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ นสพ.The Guardian ของประเทศอังกฤษ รายงานข่าวว่า ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองวาระหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ Affordable Universal Healthcare ซึ่งเป็นมติที่เรียกร้องให้ประเทศต่างๆจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับประชาชนในประเทศ โดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการโดยตรง แต่จ่ายทางอ้อมผ่านระบบภาษี และมีกลไกที่รวมความเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนล้มละลายหรือยากจนจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล มตินี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากประเทศต่างๆทั่วโลก ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แอฟริกาใต้ และไทย
 
กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวต่อว่า จากการวิจัยที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ให้ทุนสนับสนุนพบว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือเศรษฐกิจแบบใด ผลการศึกษาพบว่าแต่ละปี ประชากรโลก 150 ล้านคน ต้องจ่ายค่าบริการสุขภาพแพงมาก เป็นผลให้ 25 ล้านครัวเรือน มีฐานะยากจนลง และมีประชาชนมากกว่า 3,000 ล้านคนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยเงินของตนเอง ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กจำนวนมากต้องออกจากการเรียนเพื่อนำเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล การรับรองมติดังกล่าวนั้น หมายความว่าต่อไปนี้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเป็นวาระสำคัญของสหประชาชาติ และเป็นเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาหลังปี 2015 (the post-2015 development goals)
 
นพ.จรัล กล่าวว่า ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้ยกตัวอย่างความสำเร็จของไทยในฐานะเป็นผู้บุกเบิกการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งครอบคลุมประชาชนทุกคนตั้งแต่ปี 2545 ประชาชนไทยประมาณ 99% ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านบริการสุขภาพที่ครอบคลุม ตั้งแต่การป้องกันโรค /ส่งเสริมสุขภาพ บริการปฐมภูมิ การรักษาพยาบาลทุกระดับ รวมถึงการบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น รังสีรักษา ยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และมีความก้าวหน้าในการสร้างความเสมอภาคด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งความสำเร็จดังกล่าว เป็นต้นแบบให้ประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน มีแผนที่ชัดเจนที่จะสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ครอบคลุมประชากรของตน
24 ธันวาคม 2555

Next post > สธ.เล็งขยายผลสุขบัญญัติ 10 ประการสู่ ร.ร.-ศูนย์เด็กเล็ก

< Previous post “รมช.สธ.” ชูนโยบาย ใช้สมุนไพรส่งเสริมสุขภาพปรับสมดุลย์ธาตุในร่างกาย เพิ่มการยอมรับคุณค่า

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด