logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/situations/31798

วิธีรับมือภัยเสี่ยงเทศกาลลอยกระทง

           นายแพทย์ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า เมื่อย้อนดูสถิติอุบัติเหตุหรืออัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ย้อนหลังในหลายๆ ปี จะพบว่าเดือนพฤศจิกายนที่มีเทศกาลลอยกระทง เป็นอีกเดือนที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุและอัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉินมากเป็นอันดับต้นๆ ของปี รองเพียงสถิติในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์เท่านั้น โดยสถิติที่มักเกิดมากที่สุด คืออุบัติเหตุจากประทัด พลุ ดอกไม้ไฟ ซึ่งมักเกิดในเด็กอายุ 10-14 ปี

           “ดังนั้นการเตรียมพร้อมคือ ผู้ปกครองควรอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงอันตราย ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กจุดเล่นเองโดยเด็ดขาด และต้องจำไว้เสมอว่าระยะปลอดภัยในการยืนดูพลุ คือระยะ 10 เมตรขึ้นไป อย่างไรก็ตามเมื่อได้รับอันตรายให้รีบแจ้งขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินที่สายด่วน 1669 เพื่อให้นำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด”

          นายแพทย์ชาตรีย้ำว่าระหว่างรอการช่วยเหลือควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อลดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินโดยใช้ผ้าชุบน้ำประคบบริเวณบาดแผล หรือให้น้ำไหลผ่าน ประมาณ 10 นาที เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด จากนั้นปิดด้วยผ้าสะอาด ป้องกันการติดเชื้อ แต่หากแผลไหม้เป็นบริเวณกว้าง หรือถูกอวัยวะสำคัญต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลและในกรณีบาดแผลไฟไหม้ถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ให้ใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บ และระหว่างรอรถพยาบาลหากบาดแผลอยู่ในบริเวณที่มีเสื้อผ้าให้ถอดเสื้อผ้าออก หรือหากถอดลำบากควรตัดออกเป็นชิ้น แต่หากเสื้อผ้าติดกับบาดแผลแน่น อย่าพยายามฝืนดึงเพราะอาจจะทำให้บาดเจ็บมากขึ้น แต่ควรใช้ผ้าสะอาดคลุม

          “นอกจากนี้หากผู้บาดเจ็บมีกำไล แหวน หรือเครื่องประดับ ควรถอดออกด้วย เพราะหากปล่อยไว้นิ้วหรือข้อมืออาจบวมจนทำให้ถอดยาก ที่สำคัญห้ามใส่ยาหรือสารใดๆ บนบาดแผลเด็ดขาดหากไม่แน่ใจ เพราะอาจทำให้ระคายเคืองต่อบาดแผลเพิ่มได้”

           เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า รองลงมาคืออันตรายจากการจมน้ำและตกน้ำ โดยมี 2 สาเหตุหลัก คือพลัดตกน้ำเพราะผู้คนเบียดเสียด และการลงน้ำไปเก็บเศษเงินในกระทง  ดังนั้นผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และหากพบคนตกน้ำ จมน้ำควรช่วยเหลือโดยคิดถึงความปลอดภัยตัวเองเป็นสำคัญก่อน และรีบโทรแจ้ง 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ ควรสังเกตว่าถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้กดนวดหัวใจตามคำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์  ส่วนผู้ป่วยที่ยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง ศีรษะหงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้กินอาหารและดื่มน้ำทางปาก

          “ภัยที่น่าเป็นห่วงในทุกเทศกาลคงหนีไม่พ้นอุบัติเหตุจากการจราจร ยิ่งมีการสังสรรค์ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ ไม่ควรขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กำหนด ที่สำคัญคือต้องไม่ดื่มสุราหากต้องขับรถ และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้หากขับขี่รถจักรยานยนต์จะต้องสวมหมวกกันน็อคทุกครั้งทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย ทั้งนี้หากเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุสามารถโทรแจ้งที่สายด่วน 1669 ได้ บริการฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง” เลขาธิการ สพฉ.กล่าว

 

28 พฤศจิกายน 2555

Next post > แพทย์เตือน ดื่ม "น้ำเกรพฟรุ๊ต" พร้อม "ยา 43 ชนิด" อาจอันตรายถึงชีวิต

< Previous post สำรวจพฤติกรรมเยาวชน พบป่วยกามโรคสูงกว่า 40%

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด