logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353383965&grpid=&catid=09&subcatid=0902

อย.เตือนคนไทยใช้”พาราเซตามอล”เกินปริมาณกำหนด-เสี่ยงตับวายตาย ระบุไม่ได้รักษาได้ทุกอาการปวด !!

          นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข้อมูลการใช้ยาพาราเซตามอลของคนไทยพบว่าส่วนใหญ่มักใช้ยาพาราเซตามอลเกินกว่าปริมาณที่กำหนด เนื่องจากมองว่าเป็นยาพื้นฐาน มีความปลอดภัย และเข้าใจว่าสามารถรักษาได้ทุกอาการปวด แต่ในความเป็นจริง ยาพาราเซตามอลมีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้เท่านั้น และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ เพราะอาจนำไปสู่การเกิดพิษต่อตับ จนนำไปสู่ภาวะตับวาย และเสียชีวิตในที่สุด

          โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคในการใช้ยาพาราเซตามอล จึงได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและเอกสารกำกับยา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยาที่มีส่วนประกอบของพาราเซตามอล ทั้งที่เป็นยาสามัญ และยาสามัญประจำบ้าน ต้องมีข้อความคำเตือนบนฉลาก ได้แก่

1) ถ้าใช้ยานี้เกินขนาดที่ระบุไว้บนฉลากหรือเอกสารกำกับยา จะทำให้เป็นพิษต่อตับได้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 5 วัน

2) ผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา รวมทั้ง อย.มีมาตรการกำหนดให้ฉลากยาระบุวิธีใช้ยาอย่างเคร่งครัด คือ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ไม่เกินวันละ 4 ครั้ง และต้องมีขนาดบรรจุเป็นแผงละ 4 และ 10 เม็ดเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคใช้ยาเกินขนาดที่ระบุไว้ข้างต้น

         เลขาธิการ อย.กล่าวในตอนท้ายว่า อย่างไรก็ตาม จากการที่องค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (USFDA) ออกประกาศให้บริษัทยาที่ผลิตยาแก้ปวดสูตรที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ในกลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้ระงับความเจ็บปวดที่รุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด ซึ่งเป็นยาที่ใช้กับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลินิก ปรับลดปริมาณยาพาราเซตามอลลงจากเดิม จากขนาดยา 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด เป็น 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด รวมทั้งกำหนดให้ระบุข้อความบนฉลากยาถึงผลข้างเคียงว่า “ยามีผลทำให้เกิดพิษต่อตับอย่างรุนแรงได้” นั้น เป็นการลดความเสี่ยงของผู้บริโภคในการที่จะได้รับปริมาณยาพาราเซตามอลเกินขนาด และลดความเสี่ยงที่จะเกิดพิษต่อตับลง

          ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ขอให้ผู้บริโภคใช้ยาอย่างระมัดระวัง ควรอ่านฉลากและเอกสารกำกับยาอย่างถ้วนถี่ และปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด ไม่ควรรับประทานยาเกินกว่าปริมาณที่ระบุไว้โดยเฉพาะยาพาราเซตามอลไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรัม) และหากมีความผิดปกติหรือมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร บวมบริเวณท้อง กดเจ็บบริเวณตับ ขอให้พบแพทย์โดยด่วน ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

21 พฤศจิกายน 2555

Next post > ฟองน้ำล้างจานสกปรกกว่า "ฝารองนั่งชักโครก" 200,000 เท่า

< Previous post หมอประดิษฐ จะใช้มาตรการบริหารยาระบบใหม่ 1 มกราคม 2556

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด