logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ประธานชมรมเภสัชชนบทแนะวิธีสังเกตสินค้าโฆษณาเกินจริง

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการดำเนินงานตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของ อย.ในช่วงที่ผ่านมา พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดสรรพคุณรักษาสารพัดโรคจำนวนมาก เช่น การเสริมสมรรถภาพทางเพศ การลดน้ำหนัก อวดอ้างผิวขาวใส อวดอ้างสรรพคุณทางยาในการรักษาโรค บางผลิตภัณฑ์อ้างมีฤทธิ์ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ต้านการอักเสบ

กรณีนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้ออกตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายตามท้องตลาดอย่างเข้มงวด และขอชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิดจะไม่สามารถกล่าวอ้างรักษาโรค หรืออ้างว่ามีสรรพคุณทางยาได้

สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจัดเป็นอาหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ ซึ่งมีสารอื่นๆ เป็นส่วนประกอบโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มักอยู่ในรูปของเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลวหรือลักษณะอื่นที่ไม่ใช่รูปแบบอาหารปกติ อย.จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง อ้างรักษาได้สารพัดโรค เนื่องจากข้อความโฆษณาที่มีการอวดสรรพคุณในทางยา หรืออวดสรรพคุณรักษาโรค

อย.จะไม่อนุญาตให้โฆษณาแต่อย่างใด และจะมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย โดยผู้โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นการโฆษณาสรรพคุณอาหารโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ด้าน ภก.ภาณุโชติ ทองยัง ประธานชมรมเภสัชชนบท ให้คำแนะนำในการสังเกต และเฝ้าระวังสินค้าอวดอ้างสรรพคุณด้วยการยึด “4 หลักต้องจำ” คือ

1. เลขที่อนุญาตโฆษณา โดยแต่ละผลิตภัณฑ์ จะมีอักษรย่อไม่เหมือนกัน เช่น อาหารคือ ฆอ., ยาคือ ฆท., เครื่องมือแพทย์คือ ฆพ. ยกเว้นเครื่องสำอางที่ไม่มีอักษรเฉพาะ เนื่องจาก พ.ร.บ.เครื่องสำอาง 2535 ออกมาในยุคที่ไทยเริ่มเปิดการค้าเสรี กฎหมายฉบับดังกล่าวจึงอนุญาตให้โฆษณาไปก่อนเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อบรรยากาศการค้าและการลงทุน แต่ถ้าผู้ใดใช้ผลิตภัณฑ์แล้วได้รับความเสียหายหรือรู้สึกว่าถูก เอาเปรียบ ค่อยไปแจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค หรือ สคบ. เพื่อดำเนินคดีในภายหลัง

2. เนื้อหาการโฆษณาตรงกับที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ เช่น เมื่อจดทะเบียนเป็นอาหาร นิยามของอาหารคือกินเพื่อดำรงชีพ ไม่ใช่รักษาโรค ดังนั้นหากโฆษณาใดบอกว่าเป็นอาหาร แต่กลับโฆษณาว่ารักษาโรคได้ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเข้าข่ายโฆษณาเกินจริง

3. สรรพคุณเกินจริง ซึ่งมักจะพบบ่อยกับเครื่องสำอางที่ใช้คนหน้าตาดีอยู่แล้วมาโฆษณา หรือยาสมุนไพรที่จดทะเบียนเป็นยาจริง แต่เวลาไปขาย ก็มักจะโฆษณาต่อเติมสรรพคุณว่ารักษาได้สารพัดโรคเกินกว่าที่ทำได้จริง และ 4. หากพบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่ไม่มั่นใจว่ามีคุณภาพ หรือเข้าข่ายผิดกฎหมาย ให้แจ้งไปที่ อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบต่อไป

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS)

19 พฤศจิกายน 2555

Next post > องค์การอนามัยโลก ชมไทยหนึ่งเดียวในโลกที่มีระบบรายงานราคายา จัดซื้อยาโปร่งใส พร้อมใช้เป็นต้นแบบขยายผลสู่ประเทศอื่น

< Previous post ผู้บริโภคใน จ.ลพบุรี เสียชีวิตจากรับประทานอาหารเสริมอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด