ขอเชิญบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ร่วมตอบแบบสำรวจ เรื่อง มุมมองต่อหัตถการหรือมาตรการ (ต้องสงสัย) ที่อาจมีคุณค่าต่ำ
![](https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2024/11/Blog-Low-value-care_บุคลากรทางการแพทย์_04Dec.jpg)
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 59 HITAP ต้อนรับ ปลัดกระทรวง เจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข และนักวิชาการจากประเทศอินโดนีเซีย โดยการประชุมมีขึ้นเพื่อศึกษาระบบการจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกหัวข้อเพื่อทำการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพของประเทศไทย รวมถึงร่วมหารือถึงอุปสรรค ความยั่งยืน และก้าวต่อไปของหน่วยงานที่ทำเรื่องการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศอินโดนีเซียวางแผนที่จะจัดระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมทั้งประเทศในปี พ.ศ.2562 ดังนั้นจึงออกกฤษฎีกาว่าด้วยการใช้การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อการพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในปี พ.ศ.2556 จากนั้น หน่วยงาน Health Technology Assessment Committee (HTAC) ด้วยการสนับสนุนทางด้านวิชาการจาก HITAP ได้ทำโครงการประเมินเทคโนโลยี 3 โครงการได้แก่ the treatment of End Stage Renal Disease (ESRD), the treatment of Pulmonary Arterial Hypertension (PAH) และ an economic evaluation of the Package for Non-Communicable Disease Interventions (PEN) ในประเทศอินโดนีเซีย
ภายหลังจากความร่วมมือในการทำงานวิจัยในช่วงแรก อินโดนีเซียเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ HTA ประกอบการตัดสินใจในระบบประกันสุขภาพ และต้องการสานต่อความร่วมมือภายใต้เครือข่ายความร่วมมือ International Decision Support Initiative (iDSI) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศอินโดนีเซียสามารถสร้างระบบHTA ของตนเอง
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ รองประธานมูลนิธิเพือการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวในที่ประชุมว่า “การประชุมในวันนี้มีขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่าตั้งหน่วยงานที่มีลักษณะเหมือน HITAP เพราะมันอาจจะไม่เหมาะสมกับบริบทของอินโดนีเซีย สุดท้ายแล้วอินโดนีเซียจะมีระบบการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพของตนเอง”