logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AF%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87-81

กรมวิทยาศาสตร์ฯเตือนผู้บริโภค “ปลาดุกย่าง” ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งสูงถึง 81 %

นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาตร์การแพทย์ได้มีการสุ่มสำรวจอาหารที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการปนเปื้อนสารเบนโซเอไพรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลองที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แต่มีความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ

โดยจากการเก็บตัวอย่างอาหารปิ้งย่าง ได้แก่ ไก่ย่าง ปลาดุกย่าง และ หมูปิ้ง รวม 101 ตัวอย่าง พบว่า ไก่ย่าง 35 ตัวอย่าง ตรวจพบการปนเปื้อนร้อยละ 31 ปริมาณสารดังกล่าวที่พบอยู่ที่ 0.5-0.7 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ปลาดุกย่าง 36 ตัวอย่าง ตรวจพบการปนเปื้อน ร้อยละ 81 ปริมาณสารที่พบอยู่ที่ 0.5-3.2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และ หมูปิ้ง 30 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนร้อยละ 40 ปริมาณสารที่พบอยู่ที่ 0.3-1.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม

ทั้งนี้แม้ปริมาณสารที่พบยังถือว่ามีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ประกาศในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดไว้ที่ 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม แต่เพื่อความปลอดภัยก่อนรับประทานควรตัดส่วนที่ไหม้เกรียมออกไป ส่วนกรณีปลาดุกย่าง ควรลอกหนังออก และ รับประทานแต่เนื้อจะช่วยลดความเสี่ยงการได้รับสารดังกล่าวลงได้

ส่วนการตรวจวิเคราะห์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกาหลี “นองชิม” หลังจากมีข่าวว่ามีการตรวจพบสารเบนโซเอไพรีน ซึ่งเป็นสารที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งปนเปื้อนในผงปรุงรสของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดังกล่าว ทาง อย.ส่งตัวอย่างมาให้ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. ซึ่งในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์นั้นจะเริ่มจากการสลายตัวอย่าง กำจัดสิ่งเจือปนอื่นออกไป และ ตรวจวัดปริมาณสานเบนโซเอไพรีน แต่เนื่องจาก ขั้นตอนของการสลายตัวอย่างจะต้องใช้เวลานานประมาณ 18 ชั่วโมง จึงคาดว่า น่าจะสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ภายใน 2 วัน

13 พฤศจิกายน 2555

Next post > หมอชลน่าน แนะเลี้ยงลูกด้วย “นมแม่” ลดเสี่ยงป่วยโรคปอดบวม-ท้องเสียได้ 4 - 5 เท่าตัว

< Previous post สพฉ. ตรวจสอบมาตรฐาน-ขึ้นทะเบียนรถกู้ชีพในพื้นที่กรุงเทพฯ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด