logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351581240&grpid=&catid=19&subcatid=1904

อย.เข้มตรวจอาหารนำเข้า พบสารเคมีผักผลไม้เพียบ

          นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆในช่วงเดือนกันยายน 2555 ได้แก่ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 46 ราย พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 จำนวน 13 ราย พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 จำนวน 1 ราย พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531 จำนวน 6 ราย และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จำนวน 6 ราย รวมทั้งสิ้น 72 ราย คิดเป็นมูลค่า 1,060,000 บาท
   
          นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติอาหารได้เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดกรณีอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ โดยพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในส้มแมนดาริน ส้มสด องุ่นสด GONG PEAR แครอท ป๋วยเล้ง และถั่วลันเตา  พบสารปรอทในปลาบิกอายทูน่า เห็ดแห้ง พบค่าเพอร์ออกไซด์ไม่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดในน้ำมันมะกอกธรรมชาติ และพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ Bacillus cereus ในผงเนยแข็ง จึงได้ดำเนินคดีในข้อหานำเข้าอาหารผิดมาตรฐานแก่บริษัทผู้นำเข้ารวม 10 ราย พร้อมทั้งเรียกคืนสินค้ารุ่นที่มีปัญหาออกจากท้องตลาดตั้งแต่พบปัญหาแล้ว นอกจากนี้ยังพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ทางสื่อต่างๆ ได้แก่  นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยโฆษณาในลักษณะของการโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง และไม่ได้ขออนุญาตโฆษณา เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โฆษณาอวดอ้างช่วยลดน้ำหนัก ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ผิวหนังกระชับ บรรเทาอาการปวดตามข้อ เป็นต้น ซึ่งเป็นการโฆษณาที่เข้าข่ายหลอกลวงโอ้อวดเกินจริง เพราะผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีสรรพคุณในทางยาดังที่โฆษณา ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวมากถึง 37 ราย และในส่วนของผลิตภัณฑ์ยา พบการโฆษณาเป็นเท็จ ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกาม มีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณ โดยบุคคลอื่น และแสดงสรรพคุณว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคที่ห้ามโฆษณา เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน  รวมทั้งโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ในยาว่านชักมดลูก ยาบำรุงร่างกาย ยาบำรุงโลหิต ยาหอม กระชายดำ ยาน้ำขมิ้นชัน เป็นต้น

         “ขอเตือนประชาชนอย่าได้ซื้อผลิตภัณฑฺสุขภาพที่ไม่ได้ขออนุญาตจาก อย.ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และอย่าหลงเชื่อการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเงินทองโดยไม่ได้ผลตามที่โฆษณาอวดอ้าง มิหนำซ้ำยังอาจได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้น หรือเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง” เลขาธิการ อย.กล่าว

1 พฤศจิกายน 2555

Next post > สพฉ. ตรวจสอบมาตรฐาน-ขึ้นทะเบียนรถกู้ชีพในพื้นที่กรุงเทพฯ

< Previous post “ปลัด สธ.” รับดูแลผู้ได้รับความเสียหาย จากการรักษา ร้องทุกข์ผ่านมูลนิธิปวีณาฯ 6 ราย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด