logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=51033

“ปลัด สธ.” รับดูแลผู้ได้รับความเสียหาย จากการรักษา ร้องทุกข์ผ่านมูลนิธิปวีณาฯ 6 ราย

           วันที่ 31 ตุลาคม 2555 ที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข รับเรื่องร้องทุกข์จากนางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ซึ่งได้ นำญาติของผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล 5 แห่ง โดยอยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง และเอกชน 2 แห่ง รวม 6 ราย

           นายแพทย์ณรงค์กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจกับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งไม่มีใคร อยากให้เกิดขึ้น กระทรวงสาธารณสุข จะรับเรื่องไว้เพื่อให้การช่วยเหลือ โดยเหตุที่เกิดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลพื้นที่ และศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์กระทรวงสาธารณสุข มาร่วมดูแลและรับฟังปัญหาดังกล่าว ส่วนเหตุที่เกิดในโรงพยาบาลเอกชน ได้มอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ความเป็นธรรมที่สุดกับผู้เสียหายและผู้ให้บริการ  ทั้งนี้ กรณีผู้ป่วยที่ได้รับเลือดแล้วติดเชื้อเอชไอวี  จะให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพหาข้อเท็จจริงว่าสาเหตุการติดเชื้อเกิดมาจากขั้นตอนใด โดยระบบการรับบริจาคเลือดที่ผ่านมา ได้มีการตรวจคัดกรองเบื้องต้นตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้รับเลือดเกิดความปลอดภัยที่สุด นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งพัฒนาระบบบริการอนามัยแม่และเด็กให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อลดการเสียชีวิต และ คลอดอย่างปลอดภัยทั้งแม่  และลูก
ทั้งนี้ ผู้เสียหายที่เข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมผ่านมูลนิธิปวีณาฯ จำนวน 6 ราย ประกอบด้วย รายที่ 1 นายอนุศักดิ์ ภูสมจิตร ร้องว่าภรรยาคลอดบุตรแล้วเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายที่ 2นางรัตนา สาฉลาด คลอดบุตรแล้วบุตรเสียชีวิตที่โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร รายที่ 3นางจันธรธิมา สาดสระน้อย ร้องว่าพี่สาวคลอดบุตรแล้วเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่จังหวัดสมุทรสาคร รายที่ 4 นายอารมณ์ แฉ่งเจริญ ร้องว่าบุตรเสียชีวิตหลังคลอด ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่จังหวัดฉะเชิงเทรา รายที่ 5 นางอร่ามศรี วีระพล คลอดบุตรก่อนกำหนดที่โรงพยาบาลเอกชนในกทม.เมื่อปี 2534 และโรงพยาบาลฯ ได้ให้เลือดบุตรสาว ต่อมาในเมื่อปี 2550 ตรวจพบว่าลูกติดเชื้อ เอช ไอ วี (HIV)และรายที่ 6 เป็นผู้ป่วยมีอาการแพ้ปลาร้า หลังการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในกทม.   เกิดแผลพุพองตามผิวหนัง คาดว่าน่าจะเกิดจากการฉีดยาผิด ปัจจุบันได้ย้ายไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสังวร จังหวัดสุโขทัย ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

1 พฤศจิกายน 2555

Next post > อย.เข้มตรวจอาหารนำเข้า พบสารเคมีผักผลไม้เพียบ

< Previous post ผู้เสียหายจากการคลอดลูกร้องสาธารณสุข รพ.รัฐ-เอกชนไม่รับผิดชอบ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด