logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2-29-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1

หน่วยงานสาธารณสุข จับมือพัฒนาระบบส่งต่อ-รับกลับผู้ป่วย 29 จังหวัดรอบกทม.

       นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประกาศความร่วมมือในการกำหนดพื้นที่การส่งต่อผู้ป่วยและรับกลับระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสปสช โรงพยาบาล(รพ.)ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่อยู่รอบกรุงเทพฯกับรพ.สังกัดมหาวิทยาลัย รพ.สังกัดกรมการแพทย์ และสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมนี้
 
       นายแพทย์ณรงค์กล่าวว่า   ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับสปสช.พัฒนาระบบบริการสุขภาพ 2  เรื่องใหญ่ เพิ่มประสิทธิภาพระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามนโยบายรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ  สะดวกและรวดเร็วรวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วย 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ได้แก่    1.การจัดแผนพัฒนาระบบบริการผู้ป่วย ในรูปของเครือข่ายบริการที่ไร้รอยต่อ  (Seamless Health Service Network) เชื่อมโยงบริการ 3  ระดับเข้าด้วยกันตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดหลีกเลี่ยงการลงทุนที่ซ้ำซ้อน
 
       ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า   ประการที่  2.การสร้างเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยจากต่างจังหวัดที่ป่วยฉุกเฉินหรือป่วยด้วยโรคที่มีความยุ่งยากซับซ้อนเพื่อเข้ารักษาต่อในโรงพยาบาลที่อยู่ในกทม.ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและมีเทคโนโลยีชั้นสูง ได้แก่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สังกัดมหาวิทยาลัย และสังกัดสภากาชาดไทย แก้ไขปัญหาเตียงเต็มหรือเตียงไม่ว่าง โดยได้ตั้งคณะกรรมการความร่วมมือระบบส่งต่อผู้ป่วยระดับประเทศ 1 ชุดมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน และนายแพทย์วินัย สวัสดิวร  เลขาธิการสปสช.เป็นเลขานุการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีคุณภาพและปลอดภัย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งนี้ในปี 2554  มีผู้ป่วยส่งต่อเข้ารักษาในพื้นที่กทม.รวม 89,778 ราย   อันดับ1 ที่รพ.ราชวิถี 13,386 ราย รองลงมาคือรพ.ศิริราช 12,933 ราย รพ.รามาธิบดี 8,455 ราย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ 7,947 ราย  ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับเลนซ์และจอประสาทตา
 
       นายแพทย์ณรงค์กล่าวว่า การวางระบบเครือข่ายการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยเบื้องต้นนี้  จะเริ่มในโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่อยู่ในพื้นที่รอบกทม. 29  จังหวัดก่อน โดยมีโรงพยาบาลที่อยู่ในกทม. 6 แห่งเป็นแม่ข่าย แบ่งเป็น 4 โซนดังนี้

1.รพ.ศิริราช ดูแล 8 จังหวัดได้แก่ ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม  กาญจนบุรี เพชรบุรีประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
 
2.รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ดูแล 7 จังหวัดได้แก่ ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา สระแก้ว และปราจีนบุรี
 
3.รพ.ราชวิถี  สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และรพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ดูแล 7 จังหวัดได้แก่ สระบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี นนทบุรี ปทุมธานี นครนายก และอ่างทอง และ
 
4.รพ.รามาธิบดีดูแล 7 จังหวัดได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา และสมุทรปราการ  โดยสปสช.จะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
 
       ทั้งนี้เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นแล้วจะมีการประสานส่งกลับไปพักฟื้นที่โรงพยาบาลเดิมที่ส่งตัวไป เพื่อลดความแออัดผู้ป่วยในโรงพยาบาลใหญ่ในกทม.และจะเป็นการเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลในต่างจังหวัด ลดภาระด้านค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยให้สามารถรับบริการได้ที่สถานบริการใกล้บ้าน จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 เป็นต้นไป  จากนั้นจะมีการประเมินผลและขยายในภูมิภาคอื่นๆต่อไป

31 ตุลาคม 2555

Next post > พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ฯ ทรงห่วงใยแม่และเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยแก้ไขปัญหาเด็กคลอดก่อนกำหนดอาการวิกฤติที่จังหวัดนราธิวาสเป็นผลสำเร็จ

< Previous post สธ. เผยพบผู้ป่วยมาลาเรียทั่วไทยกว่า 3 หมื่นราย ร้อยละ 70 อยู่ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด