logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000130734

พบเด็กป่วยท่อน้ำดีกว่าครึ่งต้องปลูกถ่ายตับ

      รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (รพ.) รามาธิบดี ในฐานะประธานโครงการปลูกถ่ายตับ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า การปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรคมาจากตับวายเฉียบพลัน ตับเรื้อรัง เนื้องอก หรือมะเร็งตับ ส่วนในเด็กมาจากโรคท่อน้ำดีตีบประมาณ 1 ต่อ 15,000 ราย ของทารกคลอดมีชีวิต โดยมีอุบัติการณ์ราว 60-80 รายต่อปี สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด ในจำนวนนี้ร้อยละ 50 จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ซึ่งหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยเด็กมีอัตรารอดชีวิตในปีแรกร้อยละ 83-94 และอัตราการรอดชีวิตในปีที่ 5 ร้อยละ 82-92 โดยเด็กส่วนใหญ่จะเติบโตมีพัฒนาการ และสามารถเข้าเรียนได้เหมือนเด็กปกติ ทั้งนี้ รพ.รามาฯ เริ่มปลูกถ่ายตับครั้งแรกเมื่อปี 2533 ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยทำการปลูกถ่ายตับไปแล้วกว่า 160 ราย เป็นการปลูกถ่ายตับจากพ่อแม่สู่ลูก 61 คู่
       
       รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การปลูกถ่ายตับส่วนใหญ่จะมาจากผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากสมองตาย แต่ปัญหาคือยังไม่เพียงพอ เพราะแต่ละปีมีประมาณ 60-80 ราย ใช้ได้จริงเพียง 40 ราย เนื่องจากสภาพอาจไม่เข้ากัน ขณะที่ผู้บริจาคที่มีชีวิตยังไม่มี ส่วนใหญ่เป็นพ่อแม่หรือญาติ ซึ่งการบริจาคจากคนที่มีชีวิตอยู่จะช่วยชีวิตคนได้อีกมาก แต่มีปัจจัยหลายอย่างจึงต้องระวัง จึงเลือกการปลูกถ่ายตับจากผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากสมองตายมากกว่า
       
       “การรับบริจาคจากผู้มีชีวิตกรณีพ่อแม่สู่ลูก แพทย์จะเน้นทั้งผู้ให้และผู้รับมีความปลอดภัยสูงสุด โดยกรณีพ่อแม่ให้ตับลูกจะนำตับจากพ่อแม่ประมาณร้อยละ 20 แต่หากเป็นผู้ใหญ่จะอยู่ที่ร้อยละ 40-50 ซึ่งส่วนใหญ่ตับจะงอกขึ้นเองประมาณร้อยละ 95 ดังนั้น ผู้บริจาคจะต้องมีสุขภาพที่ดีมากๆ และต้องแน่ใจว่าในอนาคตจะไม่มีโรคใดๆ เช่น หากก่อนบริจาคตรวจพบว่ามีไวรัสบางชนิด ก็จะไม่รับทันที” ผอ.รพ.รามาธิบดี กล่าว
       
       รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้งบเฉพาะผู้ป่วยเด็กเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากมีหลายปัจจัย โดยเฉพาะปัญหาการฟื้นตัวของผู้ป่วย ซึ่งในระยะยาวน่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือการปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่ยังไม่เข้าระบบของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีเพียงสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งการผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายสูงราว 5-6 แสนบาท และต้องใช้ยากดภูมิอีกราว 2 หมื่นบาทต่อเดือน โดยต้องทานยาไปตลอดชีวิต
       
       ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า สำหรับงบที่ยังไม่เพียงพอนั้น เนื่องจากเดิมที สปสช.ยังไม่จัดสรรงบประมาณโดยคิดตามโรคนั้น ผู้ป่วยมาด้วยอาการทรุดโทรม การผ่าตัด รวมถึงการฟื้นตัวทำให้ต้องใช้เวลานาน การรักษาจึงนานและค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้น แต่ในระยะยาวเมื่อมีสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ ย่อมต้องดีขึ้น ส่วนกรณีผู้ป่วยผู้ใหญ่ ขณะนี้ยังไม่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพฯ ซึ่งการจะขยายคงต้องพิจารณาหลายปัจจัย โดยเฉพาะความคุ้มค่า

26 ตุลาคม 2555

Next post > สธ.กำชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง 4 โรคสำคัญที่เกิดช่วงปลายฝนต้นหนาว

< Previous post เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ 80 พรรษา รวมพลังจิตอาสาเย็บเต้านมเทียม 8,000 เต้า

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด